วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ทริป อ.จิ๋ว 4-12 ก.ค.2552

7 ก.ค.2552 (วันที่ 4)
วันสุดท้ายที่ลำปาง เก็บของยัดใส่กระเป๋าแล้วลุยต่อ เปลี่ยนที่กินข้าวเช้าเป็นแถวหน้าสถานีรถไฟลำปาง เป็นร้านก๋วยจั๊บ ไม่ค่อยอิ่มเท่าไหร่ แต่ก็ถือว่าอร่อยดี หลังจากนั้นก็เตรียมเสบียงสำหรับกลางวัน ออกจากที่พักประมาณ 9 โมงได้ มุ่งหน้าไปยัง
วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม เมื่อไปถึงอ.จิ๋วก็ได้ บรรยายเกี่ยวกับความเป็นสถาปัตยกรรมล้านน้า เรื่องหลังคา ซึ่งหลังคาจะมีลักษณะการยกหลังคาแต่ละตับห่างกัน จึงเกิดมีแผงคอสองไว้สำหรับแยกตัวหลังคาอย่างชัดเจน ลักษณะของวัดนี้ มีกำแพงอิฐปิดแบบเป็นผนังรับน้ำหนัก ก่ออิฐมีช่องหน้าต่าง ใช้ระเบียบโครงสร้างไว้วางตามแรง สัดส่วนที่เกิดจากลักษณะของการรับแรง แล้วประดับตกแต่งลวดลาย ซึ่งวางตามทิศทางของโครงสร้าง เสาด้านหน้าเป็นเสาแปดเหลี่ยม ด้านในเป็นเสากลม ยกบันได มีสิงห์ สองตัวด้านหน้า ใช้หลังคาลด กำแพงลดระดับ ซึ่งหลังคาที่ลดชั้นนั้น จะเป็นสัญลักษณ์ในการคลุมพื้นที่ศักดิ์สิทธ์ ซึ่งวัดทางเหนือนั้นจะไม่มีศาลาการเปรียญเช่นในภาคกลาง วิหารทำหน้าที่เป็นศาลาการเปรียญด้วย โบสถ์จะมีขนาดเล็ก โดยวัดนี้มีวัฒนธรรมของพม่าแทรกซึมเข้ามาผ่านรูปแบบของอาคาร ซึ่งบางส่วนนั้นก็แสดงถึงวัฒนธรรมของอังกฤษ
เป้าหมายที่สองของวันนี้คือ วัดปงสนุก เหนือใต้ แต่เดิมมีเพียงแห่งเดียวแต่ตอนหลังได้สร้างเพิ่ม แต่ใช้เจดีย์ร่วมกัน เสริมด้วยการก่ออิฐโดยไม่ใช้ปูน เชื่อว่ามณฑปนี้สร้างให้พระพุทธเจ้า 4 องค์ ซึ่งองค์ที่ 5 ยังไม่มา ซึ่งมณฑปนี้อ.ไก่ให้คนที่ขาดเรียน ตัดโมเดล มณฑปโครงสร้างสลับซับซ้อน ตรงบริเวณที่โครงสร้างสลับซับซ้อนนั้นจะมีดาวติดอยู่ การที่โครงสร้างนี้ซับซ้อนเนื่องจากต้องการให้เสานั้นไม่อยู่ตรงบริเวฯมุมบดบังทรรศนียภาพ ของพระพุทธเจ้า โครงสร้างหลังคาแอ่นขึ้น เป็นความวิจิตรที่ผ่านการคัดสรรมาอย่างดี ความสวยงามของมณฑปนั้นอยู่ที่โครงสร้าง ส่วนลวดลายยังคงเป็นงานที่ไม่สมบูรณ์นัก เกิดจากฝีมือความรู้ของช่างที่ยังไม่สมบูรณ์แบบในตัวเองเหมือนงานคลาสิก (Folk)
หลังจากที่ออกมาจากวัดปงสนุกก็ไปต่อที่วัดศรีรองเมือง พอออกจากรถฝนก็ตกอย่างหนัก เรามานั่งกินข้าวที่บริเวณชานหน้าวัด พระท่านใจดีนำอาหารที่เหลือจากเพลมาแจก มาพูดถึงวัดนี้เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีวัฒนธรรมของพม่าสร้างด้วยไม้สัก เนื่องจากว่า ในสมัยก่อนนั้นอังกฤษ ทำสัญญากับเอเชียตะวันตออกเฉียงใต้ เพื่อทำอุตสาหกรรมป่าไม้และได้ มาทำสัมปทานกับแพร่ ลำปาง เชียงใหม่ ฯ โดยให้พม่าจากมะละแหม่ง ซึ่งวัดนี้เป็นชาวพม่าสร้าง โดยอาคารนั้นเป็นทั้ง ศาลาการเปรียญ วิหาร กุฏิ มีการลดระดับเป็นลำดับชั้น โดยให้พระประทานอยู่สูงสุด ประตูเมื่อเปิดออกจะเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะ หลังคาที่ซ้อนทับกันนั้นเชื่อด้วยรางน้ำสลับซับซ้อน คาดว่าเป็นช่างชุดเดียวกันกับมณฑปที่วัดปงสนุก สร้างเสร็จประมาณปี พ.ศ. 2400 โดยมีระเบียบอาคารเป็นแบบพม่า แยกโบสถ์ เจดีย์ ยกใต้ถุนสูง ใช้สังกะสีเป็นเครื่องมุง มีแนวความคิดเรื่องความหรูหราฟุ่มเฟือย ซึ่งแตกต่างกับของญี่ปุ่นเพราะญี่ปุ่นเน้นในเรื่องความเป็นจริงของธรรมชาติ แต่อันนี้จำลองมาจากสวรรค์วิมาร โดยการผสมผสานสิ่งต่างๆเข้าด้วยกัน ช่องเปิดโปร่งต่อเนื่องกันในอาคาร
ระหว่างทางไปเชียงใหม่ก็แวะที่ลำพูน เป็นบ้านยองโบราณ บ้านมะกอก เรือนไม้หลังแรกนั้น เป็นเจ้าของเดิมที่สร้างนั้นเป็นช่างไม้ คุณน้าใจดีให้เดินขึ้นไปบนบ้าน ด้วยความที่ว่าเจ้าของบ้านเป็นช่างไม้ รายละเอียดส่วนต่างๆจึงถือได้ว่า เนี๊ยบทุกระเบียดนิ้ว ทั้งการเข้าไม้รอยต่อต่างๆ ดูเรียบร้อยจนแทบไม่เห็นรอยต่อ โดยพื้นไม่และตงนั้นแทบจะไม่ต้องยึดด้วยตะปูเลย Space ด้านบนเป็นพื้นที่โล่งมีการเล่นระดับแยกพื้นที่นังเล่น อเนกประสงค์กับห้องนอน โดยที่ให้ห้องนอนอยู่สูงกว่า หลังคามีลักษณะการมาชนกัน จึงมีการคิดรายละเอียดของการทำรางน้ำซึ่งคาดว่าได้นำมาซ่อมแซมใหม่ ภายหลัง ห้องนอนมีการคิดรายละเอียดเล็กน้อยต่างๆเช่น เสามุ้ง ชั้นวางของ และแม้กระทั่งลูกบิดประตู ด้านหลังบ้านเป็นส่วนของครัว ห้องเก็บของ แล้วที่สำคัญคือห้องน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดโล่งที่น่ารักมาก เจ้าของบ้านหลังนี้นคงเป็นคนที่มีฐานะน่าดู แล้วก็เดินออกไปดูยุ้งข้าวด้านนอก หลังจากใช้เวลาเดินวนไปเวียนมาในบ้านนี้อยู่นาน ก็ถึงเวลาที่ต้องไปบ้านอีกหลังที่อยู่ไม่ไกลนัก
บ้านโบราณหลังนี้เป็นบ้านที่สร้างในยุคเดียวกันกับบ้านหลังที่ผ่านมา ซึ่งเจ้าของนั้นเป็นเพื่อนกัน บ้านหลังนี้ได้รับการอนุรักษ์ และดูแลรักษาอย่างดี มีคุณยายอยู่หนึ่งคน ซึ่งบ้านนี้ใช้เป็นที่สอนสาวๆที่จะประกวดนางงาม บ้านหลังนีกแยกตัวเรือนนอนกับเรือนครัวอย่างเด่นชัดด้วยทางเดืน ตรงกลาง ลักษณะการก่อสร้างก็เป็นรูปแบบเดียวกันกับเรือนที่ผ่านมา ส่วนครัวมีเตาไฟแล้วก็ที่สำหรับอบเครื่องมือเครื่องใช้พวกหวายให้มอดไม่กิน มีเครื่องครัวแบบโบราณ แล้วก็มีห้องนอนสามห้อง พื้นที่อเนกประสงค์ ด้วยความที่พื้นเป็นไม้ เวลาที่เดินทำให้รู้สึกว่านุ่มเท่ากว่าการเดินบนพื้นคอนกรีตหรือกระเบื้อง การจัดแบ่งลักษณะการใช้สอยแปรเปลี่ยนไปตามสมัยและการใช้งานที่แปรเปลี่ยนไป ล้วนเป็นการกลั่นกรองจากรุ่นสู่รุ่น ภายหลังจากที่ดูบ้านหลังนี้เสร็จเราก็เดินทางต่อ โดยแวะไปกินข้าวที่ลำพูน ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังสนามกีฬา 700 ปีเชียงใหม่ ก่อนลงจากรถมีกระบอกไม้ไผ่ หล่นลงมาใส่หัวลูกปัด เลยแอบวุ่นวายกันเล็กน้อย แต่ก็ไม่เป็นอะไรมาก เลยกลับเข้าสู่ที่พักไปเดินเล่นที่สนามบอลแล้วก็นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น