10 ก.ค.2552 (วันที่ 7)
ตื่นขึ้นมาตอนเช้าวันนี้ไป สนามบินสุโขทัย ซึ่งผู้ออกแบบล้อเลียนโครงสร้างระเบียบแบบเดิมแต่ไม่ได้ตามวรรณคดี เสากลมไม่ตีฝ้า ลดชันหลังคา ใช้จันทันแทนม้าต่างไหม ใช้ระเบียบการเรียงอิฐในรูปแบบเดิม โดยวันนี้เรามีวิทยากรคือ คุณปู สนามบินแห่งนี้เป็นสนามบินของบริษัทการบินกรุงเทพจำกัด ซึ่งได้รับรางวัลจากสมาคมสถาปนิกสยาม ซึ่งถึงแม้ว่าระเบียบทุกอย่างจะไม่ได้ถูกลอกมาจากสมัยสุโขทัย แต่ก็ยังคงไว้เรื่องการเจาะช่องแสง เรื่องพื้นที่ภายใน ด้านหน้าที่เป็นโถงผู้โดยสารขาออกมีลักษณะป็นโถงขนาดใหญ่ เพื่อตรวจและรับกระเป๋า เมื่อผู้โดยสาร Check-in เรียบร้อยแล้วก็ก็เข้าไปด้านในเพื่อรอเครื่องออก ซึ่งเป็นโถงโปร่งโล่ง หลังคาสูงไม่ตีฝ้า มองออกไปเห็น รันเวย์ และอีกทั้งเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของสุโขทัย หลังจากนั้นก็ออกมาดูจากด้านหลัง ซึ่อาคารจะมีลักษณะใหญ่เล็กตามรูปด้าน เมื่อออกมานั่งรถชมรอบสนามบิน โดยที่รอบๆบริเวณสนามบินนี้เลี้ยงสัตว์ต่างๆ และเพาะพันธุ์ต้นไม้ต่างๆมากมาย นั่งรถไปต่อที่โรงแรมในสนามบิน สุโขทัยเฮอริเทจ รีสอร์ท ซึ่งโรงแรมนี้ได้มีลักษณะการออกแบบโดยใช้ลักษณะระเบียบบางอย่างจากสุโขทัย เช่น การเปิดช่องแสง การก่ออิฐ อาจเป็นเพราะได้ไปดูโรงแรมที่เชียงใหม่มาแล้ว เลยไม่ค่อยรู้สึกตื่นเต้นกับโรงแรมนี้เท่าไหร่ แอบเห็นสิ่งแปลกๆ ที่สถาปนิดพยายามซ่อนอยู่บนหลังคา ซึ่งเป็นทัศนียภาพที่ค่อนข้างไม่ดี ลักษณะหลังคาของโถงต่างๆ ก็ยังคงไม่ตีฝ้า เพื่อให้เห็นระเบียบโครงสร้างที่ชัดเจน หลังจากที่เราดูโรงแรมเสร็จเราก็ขึ้นรถต่อไปยัง ศูนย์อนุรักษ์เตาสังคโลก หลังจากที่เรานั่งรถชมเรียบร้อย แล้วเราก็ไปกินข้าว ซึ่งรอนานมาก พอกินเสร็จก็ขึ้นรถต่อไปยัง ศูนย์อนุรักษ์เตาสังคโลก
ศูนย์อนุรักษ์เตาสังคโลกนี้ ได้รับการออกแบบโดยภูมิสถาปนิก ด้วยอาคารนี้เป็นการอนุรักษ์วัตถุโบราณ มีการนำเอารูปแบบบางส่วนของงานสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยมาใช้ เช่นการเปิดช่องแสง แนวกำแพงก่ออิฐ แต่ส่วนอื่นๆแทบจะไม่ได้เป็นลักษณะเดิม แต่สามารถสัมผัสได้ว่ามีความเชื่อมต่อกันอยู่ ลักษณะการเดินภายในอาคารจะมี วิธีการวางลักษณะการเดินที่แตกต่างกับแนวความคิดของสถาปนิก จะมีการเดินอยู่ภายในอาคารและออกมานอกอาคาร ซึ่งก็เป็นรูปแบบที่ดีอย่างเสียอย่างคือทำให้รู้สึกไม่เบื่อหรือเกิดความซ้ำซากจำเจแบบเดิม แต่ข้อเสียก็คือการจัดวางทางเดินในรูปแบบนี้จะเป็นการทำให้การเดินชมงานนิทรรศการภายในนั้นอาจเกิดความขาดตอน เพราะเนื่องจากเดินหลุดทางเดินที่ได้กำหนดไว้ และบางครั้งอาจให้ความสำคัญกับส่วนอื่นมากกว่าสิ่งที่ควรจะให้ความสนใจ อาคารหลังนี้สร้างขึ้นเพื่อคลุมเตาทุรียน ที่อยู่ด้านในไม่ให้เสื่อมไปตามกาลเวลา หลังคาด้านในใช้โครงสร้าง Truss ซึ่งเป็นวิธีการของสมัยใหม่เข้ามาช่วย เพื่อให้เสาภายในอาคารลดลง เมื่อดูภายในอาคารเสร็จแล้วก็เดินออกไปด้านนอกซึ่งมีบ้านืพื้นถิ่น มัลักษณะ ยกใต้ถุนสูง ด้านล่างเป็นที่นั่งพักผ่อน มีชานด้านนอก และด้านหลังเป็นครัว ซึ่งบ้านหลังนี้ใช้ฝาผนังเป็นที่เก็บของ จำพวกเครื่องใช้ต่างๆ ก็เป็นการประดับตกแต่งที่สวยงาม อีกรูปแบบหนึ่งที่เราคิดไม่ถึง ซึ่งเกิดจากชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวบ้านเหล่านั้นจริงๆ ทำให้คิดได้ว่า บางครั้งเรายัดเยียดอะไรเกินความจำเป็นให้กับพวกเข้าเหล่านั้นมากเกินไปหรือเปล่า เพราะอย่างไรคนเราก็ไม่สามารถหลีกหนี ชีวิตและความเป็นอยู่ของตนเองได้
ต่อมาเรามาที่วัดอรัญยิก หรือวัดเจดีย์ 9 ยอด ใช้ระเบียบการก่อสร้างเจดีย์แบบ ผนังรับน้ำหนัก โดยนำศิลาแลงมาเรียงตัวกันเป็นซุมประตู คล้ายการก่อแบบ corbel มีการสร้างด้วยศิลาแลงเล่นระดับ และเชื่อมต่อกับพื้นที่ที่เป็นแนวเชิงเขาได้อย่างแนบเนียน เสาที่เป็นศิลาแลงที่เลียนแบบเสาไม้ เล่นย่อมุม มีการลดระดับชั้นแบบล้านนา มีมุกยื่นไปรับด้านหน้า บันได มีแมสตัน การก่ออิฐ และรูป Form ของธรรมชาติ การนำสายตาเข้าสู่องค์พระและเจดีย์ การจัด ทางเดินที่ให้เดินอ้อมรอบก่อนจะเข้าไปถึง หลังจากที่ชมวัดนีเสร็จแล้วก็ขึ้นรถต่อไป ยังอุทยาแห่งชาติศรีสัชนาลัย ซึ่งมีฝนตกในตอนแรก บริเวณนี้เป็นโบราณสถานที่เหลือ เป็นเสา ผนัง ซึ่งหากถ้ายังคงเป็นอาคารที่เป็นหลังๆ เราคงเห็นรายละเอียด องค์ประกอบต่างๆเหล่านี้ ถูกถอดออกมาเป็นระนาบ เส้น ความทึบตัน โปร่งโล่ง ไม่ได้ชัดเจนขนาดนี้ ลายปูนปั้นบนผนังที่หลงเหลืออยู่ มีความงดงามมาก แสดงถึงความสามารถของช่างในอดีต หลังคาของวัดแต่ละแห่งนั้นไม่มีหลงเหลืออยู่ อาจเป็นเพราะสมัยก่อนโครงสร้างหลังคาเป็นโครงสร้างไม้ และกระเบื้อง ซึ่งเสื่อมได้รวดเร็วกว่าการก่ออิฐ เดินเข้าไปเรื่อยๆ ก็ เจอวิหารและเจดีย์ที่มีความเหมือนและแตกต่างกันบ้าง วัดสุดท้ายที่เราไปถึงคือวัดช้างล้อม ซึ่งข้าพเจ้าไม่ได้เข้าไปดูน่าเสียดายมาก เพราะเกิดเหตุฉุกเฉินข้าศึกบุก แล้วกลับมาไม่ทัน ได้เห็นเพียงแต่รอบนอก จากมุมมองของข้าพเจ้า ความสวยงาม ที่เกิดขึ้นไม่ใช่เกิดขึ้นเพียงแต่เรื่องสถาปัตยกรรม แต่ในบริบทรอบข้างที่แวดล้อมอยู่นั้น ส่งเสริมให้ตัวสถาปัตยกรรมงดงามยิ่งขึ้น ความเสื่อมโทรมตามกาลเวลาทำให้ มีความกลมกลืนกับธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ก่อนออกมาเดินตามทางเดิน แล้ว เห็นทุ่งและมีนกสีขาวเกาะต้นไม้เต็มไปหมดเลย ซึ่งไม่มีทางได้เห็นภาพแบบนี้ในกรุงเทพฯ แน่นอน อยากให้กรุงเทพฯมีส่วนที่เป็นพื้นที่แบบนี้บ้าง ความพอดีมันอยู่ที่ไหน
ต่อมาที่วัดพระศรีมหาธาตุเชลียง วัดนี้เป็นวัดที่ถือได้ว่ามีพระพุทธรูปปางลีลาที่ถือได้ว่างดงามที่สุดของสุโขทัย ซึ่งภาพพุทธรูปนี้ได้เห็นตั้งแต่เรียนปีหนึ่ง วิชาเลือกศิลปะไทย แล้วเกิดความประทับใจและอยากมาเห็นของจริง วันนี้ด้าเห็นของจริงแล้ว เย้ๆ เสียดายนิดหน่อยที่มาตอนค่ำ ด้านหน้ามีซุ้มประตูที่มีลายปูนปั้นรูปนางฟ้าในลีลาที่สวยงามอยู่ด้านข้าง ซึ่งเมื่อเดินเข้าไป จะพบพระประทานอยู่ตรงกลางของวิหาร ซึ่งอยู่สูงสุด ด้านหลังเห็นฉากเป็นเจดีย์ที่มีอิทธิพลของอยุธยา เมื่อมองมาด้านข้างซ้ายมือ มีพระพุทธรูปปางลีลาอยู่หนึ่งรูป ซึ่งมีแขนเหมือนงวงช้าง พระพุทธรูปรูปนี้มีพระพักตร์ที่สวยงาม แต่รายละเอียดนั้นยังเห็นไม่ชัดเพราะว่ามันมืดแล้ว อ.น้ำ เลยเดินมาว่าจะมาอีกครั้งพรุ่งนี้ดีหรือเปล่า ถ้ามาจะต้องออกจากโรงแรมตี 5 แต่พวกเราก็สู้เพราะว่าอยากเห็นตอนเช้า เลยตกลงกันว่าจะมาพรุ่งนี้เช้าอีกที แล้วก็เดินเล่นรอบวิหาร แล้วก็ลองขึ้นไปบนเจดีย์ พอลงมาแล้วก็ขึ้นรถกลับที่พัก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น