วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ทริป อ.จิ๋ว 4-12 ก.ค.2552

11 ก.ค.2552 (วันที่ 8)
วันนี้ต้องตื่นแต่เช้าเพื่อกลับไปที่วัดพระศรีมหาธาตุเชลียง ต้องออกจากที่พักตั้งแต่ตีห้า แต่ด้วยความคิดที่ว่า ออกจากที่พักตีห้าครึ่ง เลยทำให้ห้องของพวกเรากรี๊ด เมื่อมีคนบอกว่ารถกำลังจะออกแล้ว จากที่นอนเลื้อยกันอยู่บนเตียง ก็สะดุ้งขึ้นมาแปรงฟัน เปลี่ยนเสื้อ แล้วโผล่ลงมาข้างล่างภายในเวลาไม่เกิน สามนาที ฮ่าๆๆ คิดดูว่าจะได้ผ่านน้ำกันมั๊ย หลังจากที่พวกเราลงมาได้สักครู่หนึ่ง รถก็เคลื่อนออกจากที่พักทันที เมื่อถึงวัด เราก็ฟังอาจารย์บรรยายเล็กน้อย และก็แยกย้ายไปถ่ายรูป เลยรีบเดินไปที่พระพุทธรูปปางลีลาที่อยู่ด้านซ้ายมือของวิหาร เมื่อมองหงายขึ้น พระพุทธรูปที่อยู่นิ่งๆนั้น เหมือนกับว่าทำท่าจะเดินออกมาจากแผงด้านหลัง ลายปูนฉาบที่เกลี่ยเป็นจีวรนั้นดูบางและพลิ้วไหวมาก พระพักตร์ดูมีเมตตา สวยงาม สัดส่วนที่เห็นจากการแหงนหน้ามองจากด้านล่างดูสมบูรณ์แบบมากกว่า การมองจากด้านหน้า เนื่องจากว่าช่างโบราณนั้นได้คิดผ่านการใช้สอยของชาวบ้าน เนื่องจากว่าโดยทั่วไปแล้วคนที่มาที่วิหารจะมองพระในลักษณะนั่งก้มกราบ โดยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้นั้นลึกซึ้งมาก หลังจากที่ชมความงดงามจนเพียงพอแล้ว ก็ไปดูที่บริเวณเจดีย์ด้านหลัง แล้วขึ้นไปมองลงมาจากด้านบนสวยงามมาก หลังจากนั้นก็เดินลงมาถ่ายภาพด้านล่างเก็บรายละเอียดส่วนต่างๆ และไปถวายเทียนพรรษาร่วมกัน
ออกจากวัดแล้วก็ไปต่อกันที่ วัดกุฎีลาย ซึ่งวัดนี้แสดงให้เราเก็นถึงการก่อประตูแบบ Corbel ที่เราเรียนกันในวิชา ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม เนื่องจากว่าปูนที่ได้ฉาบไปกระเทาะร่อนหลุดออกมา ทำให้เราเห็นการก่ออย่างชัดเจน เมื่อมองแล้วก่อให้รู้สึกว่า ขนาดสถานที่ที่ห่างไกลกันขนาดนี้ ยังมีเทคนิคและวิธีการที่เป็นรูปแบบเดียวกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ และการที่เรียนในหนังสือ แล้วมาได้เห็นภาพจริงทำให้เราสามารถตรวจสอบตัวเองได้ว่า สิ่งที่เราเรียนมานั้นเราเข้าใจถูกต้องจริงหรือไม่ แล้วก็ขึ้นรถไปที่อุทยานสุขโขทัยเป็นที่ต่อไป วัดต่อมาชื่อวัดมหาธาตุสุโขทัย การที่พวกเรามาที่สุโขทัยนั้น เราไม่มีวัดที่เป็นแบบอย่างที่ชัดเจน ไม่มีวิหารให้เห็นอย่างเต็มรูปแบบ เหลือแต่เพียงโครงสร้าง การเรียนรู้ในเรื่องระนาบ เหมือนกับที่เราเรียน visual ตอนปีหนึ่ง ทำให้เราฝึกความเข้าใจในเรื่องงานสถาปัตยกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นฝีมือและเทคนิคต่างๆของช่างสมัยก่อนที่มีมากมายน่าเหลือเชื่อ เดินต่อมายังวัดพลับพลายหลวงการแสดงพื้นผิวของหิน เส้นตั้งเส้นนอนที่มีความใหญ่เล็กหนาบาง ก่อให้เกิดมุมมอง ที่สวยงาม ถึงแม้ว่างานบางชิ้นนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากที่เดียวกันแต่การคลี่คลายฝีมือของช่างก็จะทำให้งานที่อยู่ในที่ต่างๆมีเอกลักษณ์ เช่น เจดีย์ที่มีกลับขนุนของสุโขทัยนั้น การเซาะร่องการ ทำนูนสูง รายละเดียดต่างๆก็จะมีความแต่กต่างจากเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลจากขอม การทิ้งระยะทำให้เกิดความลอยตัวของ Form บางครั้งหากมีต้นไม้เยอเกินไปก็จะทำใหอาคารดูไม่สง่า จึงต้นให้ต้นม้เป็นส่วนเสริมของอาคาร แมสสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับแมกไม้ที่เป็นฉากหลัง จากการฟังบรรยายของอ.จิ๋ว จับใจความได้ว่า ในสมัยก่อนงานของสุขโขทัยจะใช้อิฐ ไม่ได้ใช้ศิลาแลงเนื่องจากว่าจะได้เป็นการประหยัดแรงงาน การเปลือยวัสดุเหลือเพียงระนาบ ทำให้เกิดเป็นงานที่ลักษณะของ Modern ออกมาเพราะเปลือยวัสดุ ไปต่อกันที่วัดศรีสวาย วัดพระสี่อริยาบท และวัดศรีชุม ซึ่งวัดนีใช้การกำหนดสัดส่วนของวิหารหลอกตาทำให้พระประทานที่อยู่ด้านหลังที่ใหญ่อยู่แล้วดูใหญ่ยิ่งขึ้นไปอีก เนื่องจากวิหารเป็นขนาด Human Scale มากๆ หากไม่มีต้นมะม่วงด้านข้างมาเทียบเราจะคิดว่าวิหารนี้ใหญ่กว่าความเป็นจริง พวกเราไปถึงช้าจึงไม่สามารถเดินเข้าไปถ่ายรูปพระประทานด้านในได้ ด้วยความชอบส่วนตัวรู้สึกว่าพระพุทธรูปของสุโขทัยนั้นมี ความอ่อนช้อย สวยงามมีเมตตามาก และยังมีเรื่องของสัดส่วนที่สวยงามอีก ไม่น่าเชื่อว่าคนในยุคสมัยนั้นจะมีความสามารถมากมายและถ่ายทอดออกมาได้อย่างดีเยี่ยม ผ่านความศรัทธาที่มีอย่างแรกกล้าทำให้ทุกรายละเอียดหนักแน่นสมบูรณ์แบบ หลังจากออกจากวัดเราไปแวะกันที่ สฤกษ์พงศ์ ชมความงามในแบบธรรมชาติล้วนๆไม่มีงานสถาปัตยกรรม จนอิ่มหนำสำราญแล้วก็ขึ้นรถกลับที่พัก พรุ่งนี้ก็วันสุดท้ายแล้วน่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น