วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ทริป อ.จิ๋ว 4-12 ก.ค.2552

8 ก.ค.2552 (วันที่ 5)
เช้านี้อยู่ที่เชียงใหม่ ตื่นเช้ามา ก็ขึ้นรถ วันนี้มีเพื่อนไม่สบาย 2 คน อ.น้ำ เลยบอกว่าจะพาไปหาหมอที่ มช. คนที่ไม่ได้เป็นอะไรเลยแยกย้ายกันไปกินข้าวที่ กากต้นพยอมหน้ามหาวิทยาลัย ไปกินข้าวแกงร้านลุงไท ข้างโรงแรมพิงค์พยอมอร่อยมาก หลังจากกินข้าวเสร็จ เพื่อนๆก็กลับมาจากโรงพยาบาล แล้วกเดินทางต่อไปยัง วัดพันเตา เชียงใหม่ ซึ่งวัดนี้เป็นวัดไม้ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง โดยวิหารแห่งนี้เป็นวิหารไม้เทคโนโลยีที่ใช้เป็นเทคโนโลยีของช่างชั้นครู ซึ่งวิหารนี้แต่เดิมเป็นหอคำของเจ้าเมือง ใต้ถุนสูง ไม่มีมุกแต่มีมณฑปยื่นออกมารับด้านหน้า และที่สำคัญคือไม่มการขยายแปลน เกิดจากระเบียบเดียวกันกับวัดโปงยางคก ทำไม้จากด้านนอก และปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ประกอบได้ โดยใช้ประสบการณ์ ซึ่งลักษณะเป็นของล้านนา ประตูมีขนาดแคบ กระชั้นกับวิหาร หลังวิหารมีเจดีย์ ภายในวัดนี้ ยังมีเพิงที่เป็นเครื่องผูก สำหรับใช้เป็นร่มเงาชั่วคราว อยู่ด้านหลัง
จากนั้นเราก็เดินต่อไปยังโรงแรมใกล้ๆ ชื่อ U Chaing Mai Hotel ซึ่งโรงแรมนี้ได้ประยุกต์การใช้งานจากบ้านโบราณเดิมมาสร้างเอกลักษณ์ของโรงแรม วัสดุใหม่เก่าที่นำมาผสมผสานอย่างลงตัว ไม้เดิมทำสีใหม่ คอนกรีต กระจก เหล็ก การจัดทางเข้าด้านหน้า ดูเป็นงานสมัยใหม่ที่ยังคงมีความเป็นไทยแผงอยู่ การเลือกพืชพรรณที่นำมาใช้ บ้านหลังเดิมเป็นบ้านสีฟ้าเจ้าของเป็นท่านขุน ที่รู้ถึงประวัติศาสตร์และพยายามทำให้ไม่สูญไป พยายามรักษารูปแบบเดิมด้วยการเชื่อมต่ออาคารใหม่ให้โอบล้อมอาคารเดิมไว้โดยใช้หลังคาเดียวกัน ทำผนังให้โปร่งขึ้น โดยมี Form ใหม่ Scale ลักษณะบางอย่างสอดคล้องกับอาคารไม้ โดยมีความเข้าใจในของเดิม เน้นทางเข้าเจาะช่อง พอออกมาจากโรงแรมก็เดินกลับไปขึ้นรถที่วัดพันเตา เพื่อออกเดินทางไปยังเป้าหมายต่อไป
แล้วล้อก็หยุดหมุนที่วัดทุ่งอ้อ โดยวัดนี้มีวิหารขนาดเล็กกระทัดรัด แต่เมื่อเข้าไปแล้วรู้สึดได้ว่าใหญ่กว่าที่เห็นจากด้านนอกไม่แออัด อาจเป็นเพราะช่องแสงที่มี หลังคาที่โปร่ง และการบีบ ขยายแปลน อ.น้ำเล่าว่า วัดแห่งนี้เป็นวัดแบบเชียงใหม่โดยใช้แม่แบบเดิม ซึ่งลักษณะจะแตกต่างกับวัดลำปางหลวงตรงที่ บริเวณรอบๆวิหารจะไม่โปร่ง มีการก่ออิฐ และขยายแปลนซึ่งวัดเมื่อเช้าไม่มี หางหงส์ใบระกะจะมีขนาดเกินกว่าที่ครวจะเป็น เหงาด้านหน้าที่รับบันไดมีขนาดใหญ่มาก สูงกว่าตัวคน เพื่อลวงตาให้วิหารที่เล็กนั้นดูใหญ่ขึ้น ช่างไม่มีฝีมือ แต่ยังคงเข้าไม่ถึงความวิจิตร ลวดลายจึงแข็งประด้าง เหมือนมฑฑปวัดปงสนุก ถึงแม้วิหารของวัดนี้ยังคงเหมือนเดิม แต่ว่ารอบๆตัววิหารนั้นกลับถูกสิ่งแวดล้อมสมัยให้ส่งผลให้เปลี่ยนแปลงไป ไม่สอดคล้องกับงานเดิมที่คงอยู่ หลังจากเดินเล่ารอบวิหารเสร็จแลวก็เลยเดินไปดูรอบๆวัด ก็ยังคงมีต้นไม้ปกคลุมอยู่มากพอสมควร ที่วัดเลี้ยงไก่งวงไว้หลายตัว แต่ละตัวใหญ่มาก... ขณะที่กำลังเดินเล่นอยู่หลังวัดก็มีพระรูปหนึ่งมาเล่าให้ฟังว่าม นอกจากวิหาร เจดีย์แล้วยังมีศาลเจ้าแม่อยู่ ซึ่งคอยปกป้องอาณาบริเวณวัดด้านหลัง พอเดินไปดูเป็นเหมือนถ้ำเล็กๆ ที่สร้างไว้อยู่ด้านหลังเจดีย์
กลับมาที่รถแล้วที่ที่เราจะไปต่อวันนี้คือ วัดอินทราวาส หรือวัดต้นเก๋วน ซึ่งวัดนี้เป็นแหล่งรวมสภาพแวดล้อมที่เรียกได้ว่าเกือบจะสมบูรณ์ที่สุก แต่ภายหลังเกิดร้านขายของขึ้น ใช้วัสดุใหม่ๆที่ไม่สอดคล้องกับของเดิมทำให้เกิดความขัดแย้งเล็กน้อย รั้วของวัดนี้จะไม่ได้เป็นรั้วสีขาวฉาบปูน แต่จะเป็นรั้วอิฐ ด้านหน้าเป็นพื้นที่สาธารณะ ความงามของวัดนั้นเกิดขึ้นตามกาลเวลาจากวามเป็นสัจจะวัสดุ วัสดุที่เป็นธรรมชาติ ก็สามารถกลมกลืนกับธรรมชาติได้ มอสที่เกาะบนหลังคา ผนัง ทำให้อาคารดูอ่อนนุ่มขึ้น กุฏิจะถูกแยกออกจะเขตพุทธาวาส หลังคาสูง เน้นระนาบนอน มีการนำสายตาก่อนที่จะเข้าสู่ตัววัดซึ่งเราจะไม่สามารถเห็นภายในวัดได้ทั้งหมดก่อนที่จะเข้าไปถึงภายในวัด เมื่อเข้าไปจะเจอลานทรายขนาดใหญ่ กว้างขวาง อลังการ หลังคาบางส่วนถูกปรับเปลี่ยนไปใช้เป็นกระเบื้องเคลือบไม่ใช่กระเบื้องพื้นเมือง ช่างโบราณนัน้มีประสบการณ์และความละเอียดอ่อน อาจารย์เล่าว่าในสมัยก่อนมีต้นลำไยให้ความรู้สึกร่มรื่นอยู่ภายในวัด แต่ภายหลังมีอิทธิพลของสวนเซนเข้ามาคือต้องการความราบโล่งและวิว ถ้าคงลักษณะเดิมไว้เป็นต้นไม้ที่เกิดจากสำนึกกับเจ้าอาวาส ภูมิปัญญาเดิมและสำนึกของคนโบราณนั้นสามารถจัดเติมตกแต่งให้สวยงามเหมาะกับความเป็นอยู่แล้วการใช้สอยของพวกเขาแล้ว ต้อนไม้แต่ละต้นที่เลือกปลูกถูกคัดสรรมาอย่างดี เรื่องโครงสร้างของวัด โครงสร้างของวัดนี้มีโครงสร้างสำคัญต่อเนื่องเหมือนวัดลำปางหลวงแต่มีความอ่อนช้อยกว่า จังหวะช่วงเสาและ Space มีความไหลลื่นต่อเนื่อง สัมพันธ์กันกับการใช้สอย คน และที่ว่าโดยรอบ ในวิหารตรงบริเวณพระพุทธรูปมีฝ้าและดาวเพดาน พระประทานมีองค์เล็กไม่กินพื้นที่ทั้งหมดของวิหาร และแท่นบูชานั้นก็ไม่เหมือนกับภาคกลาง โดยเสาที่ใช้นั้นเป็นเสาคู่แต่ะถูกฉาบปูนปิดไว้ ทำให้เกิดระนาบนำสายตาสู่พระประทาน เกิดระนาบการนำสายตาที่สมบูรณ์ เปลี่ยนอารมณ์ตลอด หากมองไปด้านหน้าจะรู้สึกว่าเป็นส่วนเดียวกัน แต่เมื่อเดินออกจากวิหารจะรู้สึกว่าหลังคาเป็นตัวแบ่ง Space ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นคนละส่วนกัน เนื่องจากการซ้อนชั้นของหลังคา ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมองกับสายตาจะปะทะกับหลังคาชั้นที่ต่ำกว่า ทำให้รู้สึกว่าเกิดการแยก ระเบียงคดนั้นก็มีโครงสร้างที่สวยงาม การจบมุมการเข้าไม้ เรียบร้อยมาก หลังจากที่พยายามถ่ายรูปวิหารด้านหน้าได้ก็ รีบขึ้นรถเพื่อไปยังโรงแรมราชมังคลา
รถถูกจอดไว้ที่วักพระสิงห์ และเราก็เดินไปที่ โรงแรมราชมังคลา ซึ่งโรงแรมนี้มีการศึกษา ระเบียบของที่ต่างๆนำมาใช้ประยุกต์ โดยสถานที่ที่ได้ศึกษานั้นเช่น วัดลำปางหลวง วัดตนเก๋วน วักไหล่หิน วัดโปงยางคก เนปาล อังกฤษ การที่นำเอาทุกอย่างนั้นมาอยู่ร่วมกันได้คือนำเอาส่วนที่คล้ายกันใกล้เคียงกันมาใช้ด้วยกันได้โดยปรับให้เข้ากับส่วนอื่นๆ ส่วนที่นำมาศึกษาและนำมาใช้จากอาคารตัวอย่างเหล่านั้นคือ
1.วัสดุ
2.ระเบียบการก่ออิฐ
3.ระเบียบโครงสร้าง
4.ระเบียบการเจ้าช่อง
ลานทราย และไม้พื้นถิ่นถูกนำมาใช้ การเจาะช่องที่ไม่เกินกว่าอารมณ์เดิม ความเรียบง่ายของวัสดุ ด้านหน้าบริเวณส่วนที่เป็น ห้องอาหาร พิพิธฑภัณฑ์และร้านขายของที่ระลึกนั้น เป็นการวมลักณะของอาคารทั้งจีน อังกฤษ และไทยเข้าไว้ด้วยกัน มีคอร์ทตรงกลางทำให้รูสึกโล่งพื้นบริเวณนั้นถูปูด้วยวัสดุที่เป็นธรรมชาติทำให้ดูไม่แข็ง ภายในโรงแรมมีการจัดส่วนห้องพักเป็นแบบอาคารที่ไม่สูง ซึ่งห้องพักเรียงตัวล้อมกันก่อให้เกิดพื้นที่ว่าตรงกลาง และเบรคความยาวด้วยการสร้าง โถงต่างๆขั้นกลาง และเกิดคอร์ทใหม่ ซึ่งวัสดุที่นำมาตกแต่งทุกชนิดถูกคัดสรรมาอย่างดี ผ่านกระบวนการคิด สุดปลายทางเดินไปด้านขวามือจะมีสระว่ายน้ำและอาคารพัก สองอาคาร เมื่อดูรอบโครงการแล้วก็ได้ขึ้นรถ เพื่อจะไปกินข้าวที่ไนท์บาร์ซ่า แล้วร้านที่ไปกินนี่เรียกได้ว่าสุดยอดดด สุดยอดดดด ยอดแย่ ลวงหลอกผู้บริโภคสุดๆ ทำเอากินกันไม่อร่อยเลยทีเดียว ข้าหน้าเป็ดที่มีเป็นอยู่ไม่เกิน ห้าชิ้นบางๆเหี่ยวแห้ง จานละ 60 บาท คือถ้าของมันมคุณภาพจริงจะไม่ว่าอะไรเลย พอเห็นแบบนั้น ก็เลบอกว่าจะยกเลิกแต่พอเดินไปบอกปุ๊บ อาหารที่ยังไม่ได้ทำเขาก็รีบทำทันที จึงปิดท้ายวันด้วยอารมณ์ที่ไม่ดีนัก พอเดินเสร็จก็ขึ้นรถกลับที่พัก นอนพรุ่งนี้เช้าลุยต่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น