สวัสดีค่ะ วันนี้ได้สัมภาษณ์พี่พง เป็นพี่ที่จบจากลาดกระบัง แล้วทำงานต่อในวิชาชีพของเรา วันนี้พี่พงมีอะไรมาฝากน้องๆบ้างจากการทำงาน ติดตามต่อได้เลยค่ะ
พี่พงช่วยแนะนำตัวเองหน่อยได้ไหมคะ
ครับ ชื่อนายพงศ์สวัสดิ์ อัศวศิริเลิศ เข้าเรียนเมื่อปี พ.ศ. 2541 จบปี พ.ศ. 2545 รหัส 41025127
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรม
ทำไมพี่ถึงเลือกเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ลาดกระบัง
ผมเลือกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรม เจ้าคุณทหารฯ ลาดกระบัง อันดับที่ 1 ครับ สาเหตุจำไม่ได้ครับ
พี่ช่วยเล่าเรื่องชีวิตในขณะที่พี่เรียนอยู่ ว่าทำกิจกรรมอะไรบ้าง การเรียนมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง ความสัมพันธ์กับคณะ
การเรียนที่คณะเป็นเวลาที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดี อาจารย์ที่มีหัวใจป็นผู้ให้ คณาจารย์มีความหลากหลายทำให้ได้รับการสั่งสอนที่ทำให้สามารถไปใช้ในการทำงานได้ดี ซึ่งคณะเรามีจำนวนนักศึกษาไม่มากทำให้รู้จักกันทั้งหมดทุกชั้นปี และ เพื่อนต่างภาควิชา สังคมของสถาปัตย์ลาดกระบังจึงอบอุ่นและเป็นเหมือนครอบครัวเดียวกันซึ่งไม่เหมือนใคร
พี่มีความคิดเห็นอย่างไรกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นในคณะเรา มีอะไรบ้างที่แตกต่างกับในสมัยของพี่บ้างคะ
ผมไม่ทราบว่ามีความเปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้นในคณะ
ทัศนคติเกี่ยวกับคณะเรา ในระหว่างที่เรียนอยู่ และเมื่อตอนที่จบไปแล้ว
ตอนที่เรียนอยู่คณะเป็นที่ศึกษาหาความรู้ เป็นบ้าน เป็นสถานที่ที่อยู่แล้วสบายใจ และยังเป็นที่อยู่ของาจารย์ที่เคารพรักหลายท่าน
เมื่อจบแล้วทัศนะคติของผมยังไม่เปลี่ยนแปลง และ อยากกลับไปทำประโยชน์ ให้สังคมที่ผมรักที่สุด
ประสบการณ์ในการทำงานกับการเรียนต่างกันมากน้อยขนาดไหนคะ
แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
การทำงานทุกอย่างต้องตั้งใจ ทำงานด้วยความแม่นยำ มีความรับผิดชอบ ต้องรับฟังความเห็นผู้อื่น เรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดเวลา ต้องทำงานร่วมกับคนมากมาย ไม่มีใครให้อภัยเมื่อทำผิดเหมือนกับที่อาจารย์ให้อภัยกับนักเรียนหรอกครับ
ความเป็น สถาปัตย์ลาดกระบังมีผลอะไรต่อการทำงานของพี่หรือไม่คะ
มีผลมากครับ ผมเป็นคนไม่เก่ง แน่นอน ทำให้ผมต้องขยันมาก อดทนมาก รักการคิด ชอบการเรียนรู้มาก และผมมีเพื่อนที่ดี สถาปัตย์ลาดกระบังสอนผมให้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้และขอบคุณทุกอย่างที่นี่
ตอนนี้พี่ทำงานที่ไหนคะ
ตอนนี้ทำงานกับบริษัท ตัวเองชื่อ NPAAE Co., Ltd. ที่เปิดกับเพื่อนที่เป็นวิศวกรครับ
มีบางวันที่ต้องเข้าสำนักงานที่เคยทำอยู่เพื่อเก็บงานเก่าที่ค้างคาครับ
ช่วยแสดงผลงานที่ได้ทำให้น้องดูได้ไหมคะ
ได้ครับ ส่วนหนึ่งของผลงานที่ทำครับมีหลายแบบตั้งแต่ตอนทำที่บริษัท Palmer & Turner (Thailand) ด้วยครับลองดูผมใส่ Credit ของงานที่ทำกับบริษัทอื่นไว้ นอกนั้นถ้าไม่ได้ใส่จะเป็นงานส่วนตัวครับ
ลักษณะของการทำงานในวิชาชีพของเราเป็นไปในรูปแบบไหนคะ
ต้องฝึกฝนตัวเองอยู่เสมอเนื่องจากการแข่งขันในปัจจุบัน มีมากเหลือเกิน เรียนรู้ได้อย่างไม่มีวันจบสิ้นครับ
คุณสมบัติของการเป็นสถาปนิกที่ดีที่ควรปฏิบัติในสายตาของพี่ควรเป็นอย่างไรคะ
มีความคิดสร้างสรรค์ ขยัน อดทน มีไหวพริบ ชอบการเรียนรู้ ทำแต่สิ่งที่ดี แล้วจะเป็นสถาปนิกที่ดี
อุปสรรคที่เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพของคืออะไรคะ
อุปสรรคที่เคยเจอคือการที่ได้เจอกับคนที่ไม่เป็นมืออาชีพ ไม่มีจรรยาบรรในการประกอบวิชาชีพ สิ่งนี้ไม่เป็นแค่อุปสรรคในการประกอบวิชาชีพเท่านั้นยัง เป็นอุปสรรคในการพัฒนาวิชาชีพด้วย
คิดว่าวงการสถาปนิกของเราเมื่อเทียบกับต่างประเทศเป็นอย่างไรคะ
ประเทศไทยเป็นเพียงประเทศเล็ก ๆ ประเทศหนึ่งในโลก วงการสถาปนิกเป็นวงการเล็ก ๆ ในประเทศเล็ก ๆ ประเทศเรายังต้องพัฒนาอีกมากครับ ถึงจะทำให้วงการเราเป็นเหมือนต่างประเทศ วงการสถาปนิกต่างประเทศมีพลังที่สามารถขับเคลื่อนโลกได้ครับ และคึกคักมากครับ เคยรู้หรือเปล่า?
คิดยังไงกับวิชาชีพสถาปนิกในอนาคต
คิดว่าอาชีพสถาปนิกเป็นวิชาชีพที่เก่าแก่วิชาชีพหนึ่งของโลก สิ่งก่อสร้างจากอดีตและทรงคุณค่ามาถึงปัจจุบัน เช่น พีระมิด เกิดจากคนในวิชาชีพนี้ทั้งสิ้น วิชาชีพนี้ยังคงเป็นวิชาชีพที่ทรงคุณค่าต่อไปครับ
มีอะไรจะฝากบอกน้องๆลาดกระบังรุ่นใหม่ที่กำลังจะก้าวเข้ามาในวิชาชีพนี้บ้างคะ
ตั้งใจเรียน และทำแต่สิ่งที่ดีนะ
วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552
วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552
สถาปัตยกรรมยุควิคตอเรียน ปี (1837-1901)
สถาปัตยกรรมยุควิคตอเรียน ปี (1837-1901)
คำนิยามของสถาปัตยกรรมแบบวิคตอเรียนนี้ อาจกล่าวได้ว่า เป็นรูปแบบหนึ่งของงานสถาปัตยกรรม มีอำนาจอยู่ในช่วง ราชินีวิคตอเรีย ครองราชย์ในประเทศอังกฤษ ทำให้เกิดเป็นยุควิตอเรียนขึ้น
โดนในยุคสมัยนี้ได้ฟื้นฟูสถาปัตยกรรมของยุคคลาสิกและกรีก ขึ้นมาอีก แต่ก็ยังคงมีปัญหาเรื่องของการพัฒนารูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันขึ้น การฟื้นฟูยุคกิธิคนั้นมีอำนาจและบทบาทมากในช่วงปี ค.ศ.1855-1885 แต่ยังคงมีการฟื้นฟูและการนำเอาสถาปัตยกรรมยุคต่างๆในอดีตกลับมาใช้อีก โดยมีปัจจัยหลักของรูปแบบงาน จพแสดงออกมาในเรื่องของความรักและความอบอุ่นของบ้าน
อังกฤษเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรมในงานจัดแสดงงานครั้งยิ่งใหญ่ในของทั่วโลกในปี ค.ศ.1851 โดยอาคารที่ก่อสร้างขึ้นมาคือ ครัสตัลพาเลซ ออกแบบโดย Sir Joseph Paxton มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการจัดแสดงงานและแสดงศักยภาพทางด้านเทคโนโลยี การออกแบบและการก่อสร้างของประเทศอังกฤษอีกด้วย รูปแบบอาคารเป็นอาคารกระจกโครงสร้างเหล็ก และใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างแบบ Prefabrication ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของเทคโนโลยีในอนาคต
ลักษณะงานออกแบบของยุควิคตอเรียนที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ ลักษณะการฟื้นฟูการออกแบบแบบกรีก ซึ่งจเห็นได้ในอาคารสาธรณะขนาดใหญ่ ซึ่งในยุคสมัยนี้บ้านได้มีการออกแบบที่เปลี่ยนแปลงไป โครงสร้างและการก่อสร้างเน้นไปที่งานในรูปแบบของชิ้นส่วนสำเร็จรูป ในประเทศอังกฤษ มีรากฐานทางด้านประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ รูปทรแรขาคณิต ทฤษฎี และความชอบในการออกแบบ ในยุควิตอเรียนตอนต้นนั้น ลักษณะการออกแบบยังเป็นได้ในรูปแบบที่เรียบง่าย แต่ภายหลังจากการเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในประเทศ สถาปัตยกรรมก็ได้มีความซับซ้อนมากขึ้น
ในบ้านแบบวิกตอเรียนอาจประกอบไปด้วยรายละเอียดจากหลาย ๆ สไตล์ หลาย ๆ ยุค ดังที่กล่าวข้างต้นมาดัดแปลงใช้ร่วมกัน ซึ่งในสมัยนั้นเป็นที่นิยมมาก เรียกกันว่า "Eclecticism" ซึ่งหมายถึง การเลือกใช้ให้ผสมผสานกลมกลืนตามความเหมาะสม บรรยากาศการตกแต่งภายในบ้านแบบวิกตอเรียน จะเน้นเรื่องความรักบ้านและครอบครัวอบอุ่น ค่อนข้างโรแมนติก เริ่มตั้งแต่ประตูทางเข้า จะทำให้เด่นด้วยการใช้กระจกสี "สเตนกลาส" ประดับแต่งด้วยลวดลายต่าง ๆ เช่น รูปแบบโกธิค แบบดอกไม้ หรืออาจใช้กระจกเจียระไนแต่ละชิ้นประดับเป็นลวดลายงดงาม
ห้องรับประทานอาหารภายในบ้านแบบวิกตอเรียน นิยมเล่นลวดลายมาก และประดับด้วยโคมไฟระย้า ผนังห้องนอนตกแต่งด้วยกระดาษติดผนัง มีบอร์เดอร์คาดโดยรอบเป็นลายใบไม้เน้นฝ้าเพดานห้อง ด้านล่างผนังแต่งด้วยกระดาษติดผนังลวดลายต่างจากผนังท่อนบนมักเป็นลายจำพวกดอกไม้ ริบบิ้น รูปวิว บัวเพดาน และผนังห้องที่ใช้กระดาษปิดผนังสีสด เล่นลวดลายต่าง ๆ กัน ตรงกลางฝ้าติดแป้นไม้แกะสลัก สำหรับห้อยไฟระย้า ประตูทางเข้าบ้านดูโอ่โถง ประดับประดาด้วยกระจกสี (leaded-glass) เป็นรูปทรงเรขาคณิต ได้รับอิทธิพลจากศิลปะญี่ปุ่น ซึ่งนิยมกันมากในสมัยวิกตอเรียน
ในตอนต้นยุค สีสันภายในห้องโดยเฉพาะบริเวณห้องโถงต่อจากทางเข้าจะเป็นสีค่อนข้างหม่น เช่น เทา น้ำเงิน น้ำตาลอมเหลือง สีไม้โอ๊ก หรือแดงเข้ม ต่อมาใช้สีสดมากขึ้น เช่น เทอร์ควอยส์ ม่วงแดง ส้มอ่อน เขียวบรอนซ์ เขียวมะกอก เหลือง ฟ้าหม่น และสีทอง
ภายในห้อง นิยมทำเพดานให้สูงประมาณ 3-4 เมตรกว่า ทำให้ดูสูงโปร่งฝ้าเพดานประดับประดาด้วยปูนปั้นแกะสลักเป็นรูปดอกไม้ หรือเป็นภาพวาดแบบเฟรสโก้ บางทีก็แต่งปิดทับด้วยกระดาษและแผ่นดีบุกอัดลาย และติดไฟระย้า
ผนังห้อง จะตกแต่งปิดทับด้วยกระดาษปิดผนังที่มีลวดลายโดดเด่น มีการแบ่งพื้นห้องส่วนสาม เพื่อตกแต่งด้วยไม้แกะสลักหรือวอลล์เปเปอร์ ที่มีสีสันหรือลวดลายที่ต่างจากส่วนอื่น ๆ ของผนัง บางทีก็ใช้แผ่นไม้มีลวดลายกรุผนังด้านล่าง
นอกจากนี้ ยังนิยมติดกระดาษปิดผนังชนิดที่ติดเป็นขอบโดยรอบ(Borders)การใช้สีทาผนังการวาดลวดลายและการใช้วิธีทำสเตนซิล ก็เป็นที่นิยมเหมือนกัน
เสาห้อง จะเป็นเสาสไตล์คลาสสิกที่ถูกตกแต่งจนบอกไม่ได้ว่ามาจากสไตล์ไหนกันแน่ เพราะเป็นการรวมหลายแบบเข้าไว้ด้วยกัน
พื้นห้องสมัยวิกตอเรียน มักจะใช้พรมปูตลอดทั้งห้องทับไปบนพื้นไม้ ซึ่งถ้าไม่ใช้พรม ก็นิยมวาดรูปลงไปบนพื้นหรือไม่ก็ทำลวดลายแบบสเตนซิล ที่น่าสนใจคือมีการคิดค้นแผ่นลิโนเลียม คล้ายกระเบื้องยางในปัจจุบัน มีลวดลายเป็นรูปทรงเรขาคณิต
นอกจากนี้ มีการใช้เสื่อทอจากพืชสำหรับปูที่เฉลียง มีการใช้กระเบื้องเป็นวัสดุปูที่พื้นบริเวณทางเข้าบ้าน ในพื้นห้องครัวและห้อง
ตัวอย่างงานในยุควิคตอเรียนตอนต้น "Gingerbread House" ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1855
Manchester Town Hall เป็นตัวอย่างของการฟื้นฟูสถาปัตยกรรมกอธิคในยุควิคตอเรียน ตั้งอยู่ใน Manchester ประเทศอังกฤษ
ตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมวิคตอเรียนในประเทศไทย
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร องค์ปัจจุบัน
บริเวณด้านข้างของพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร องค์ปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรขึ้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2420 โดยโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์เป็นผู้ออกแบบ[2] โดยพระราชทานเงิน 70 ชั่ง หรือประมาณ 5,600 บาท ทุกปีในฤดูฝน พระองค์จะเสด็จมาประทับที่พระที่นั่งองค์นี้ปีละ 3 ครั้ง
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรเป็นพระที่นั่งเรือนไม้ 2 ชั้น มีสถาปัตยกรรมแบบชาเล่ย์ของสวิตเซอร์แลนด์ โดยทาสีเขียวอ่อนและสีขียวแก่สลับกันทั้งองค์ ประดับประดาไปด้วยลวดลายฉลุไม้แบบยุโรปที่แสนงดงาม มีระเบียงแล่นโดยรอบพระที่นั่ง ภายในมีการตกแต่งแบบยุโรปด้วยเครื่องเรือนฝรั่งเศสสมัยพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ที่เข้าชุดกันทั้งหมด พระที่นั่งองค์นี้ถือได้ว่าเป็นพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานมากที่สุด
เมื่อปี พ.ศ. 2433 แกรนด์ดุ๊กซาร์วิตส์แห่งรัสเซีย (พระยศขณะนั้น) ได้เสด็จเยือนประเทศไทย พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระที่นั่งองค์นี้เป็นที่ประทับของแกรนด์ดุ๊กซาร์วิตส์ และในปี พ.ศ. 2452 ยังใช้เป็นที่ประทับของดยุคโยฮัน อัลเบรตแห่งเยอรมันด้วย[1]
ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ได้มีการบูรณะซ่อมแซมพระที่นั่งต่าง ๆ ในพระราชวังบางปะอิน ขณะดำเนินการทาสีพระที่นั่งนั้นได้เกิดเหตุเพลิงไหม้พระที่นั่งทั้งองค์ ซึ่งเหลือเพียงหอน้ำข้างพระที่นั่งเท่านั้นที่ไม่ถูกเพลิงไหม้ เมื่อปี พ.ศ. 2531 สำนักพระราชวังจึงสร้างพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรขึ้นมาใหม่เลียนแบบพระที่ นั่งองค์เดิม เพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงภาพเขียนและวัตถุโบราณ
จนกระทั่ง เมื่อปี พ.ศ. 2537 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้จัดสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ ขึ้นโดยใช้คอนกรีต แทนไม้ โดยทาสีขาวสลับเขียวตามแบบเดิมทั้งองค์พระที่นั่ง ต่อมาได้มีการรื้อดัดแปลงสร้างใหม่อีกครั้งหนึ่งตามลักษณะที่ปรากฏใน ปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรในคราวเสด็จเยือนประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2539 การดัดแปลงใหม่ครั้งนี้ได้ใช้ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบวิคตอเรียน ตัวอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้นกรุกระจกโดยรอบองค์พระที่นั่ง องค์พระที่นั่งทาสีม่วงชมพูอย่างงดงาม
ปัจจุบัน พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นที่ประทับในการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน ณ พระราชวังบางปะอิน และเป็นสถานที่รับรองพระราชอาคันตุกะ เป็นสถานที่เดียวในพระราชวังบางปะอินที่ไม่เปิดให้เข้าชม
พระตำหนักสวนหงส์
พระตำหนักสวนหงส์
พระตำหนักสวนหงส์ เป็นพระตำหนักภายในพระราชวังดุสิต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ปัจจุบัน ใช้เป็นสถานที่จัดแสดงภาพงานพระราชพิธีโบราณต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีสมโภชเดือนขึ้นพระอู่ พระราชพิธีตรียัมปวาย รวมทั้ง จัดแสดงพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
พระตำหนักสวนหงส์ เป็นพระตำหนักไม้ 2 ชั้น บริเวณเชิงชาย ระเบียง และคอสองตกแต่งด้วยไม้แกะสลักลวดลายขนมปังขิง ตัวอาคารทาสีเขียวและขาว บริเวณด้านหน้าพระตำหนักตั้งรูปปฏิมากรรมรูปหงส์ประดับไว้ด้วย พระตำหนักออกแบบและก่อสร้างโดยกลุ่มนายช่างประจำราชสำนัก ซึ่งเป็นชาวตะวันตก ได้แก่ ชาวอิตาเลียน เยอมัน และอังกฤษ สถาปัตยกรรมของพระตำหนักสวนหงส์นั้นเมื่อพิจารณาตามส่วนต่าง ๆ แล้วน่าจะมีสถาปัตยกรรมแบบวิคตอเรียน กอทิค ซึ่งเป็นศิลปะร่วมสมัยกับพระที่นั่งวิมานเมฆ แต่เมื่อพิจารณาแบบองค์รวมแล้วจัดเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Picturesque มากกว่า และนับเป็นสถาปัตยกรรมแนวสัญลักษณ์นิยมที่สามารถผสมผสานวัฒนธรรมไทย จีน และแขกได้อย่างลงตัว
วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ทริป อ.จิ๋ว 4-12 ก.ค.2552
4 ก.ค.2552 (วันที่ 1)
เริ่มต้นการเดินทางสุดทรหด 9 วัน 8 คืน ออกจากคณะ ด้วยรถน้าลำดวน ไม่รู้ว่าจากลาดกระบังทำไมถึงโผล่มาอยุธยาได้อย่างรวดเร็ว กินข้าวเช้าที่ปั๊มน้ำมัน เดินเล่นซื้อขนมขึ้นรถ หลังจากนั้นก็หลับต่อไป ตื่นขึ้นมาอีกทีอยู่ที่ จังหวัดสระบุรี
เริ่มต้นการเดินทางสุดทรหด 9 วัน 8 คืน ออกจากคณะ ด้วยรถน้าลำดวน ไม่รู้ว่าจากลาดกระบังทำไมถึงโผล่มาอยุธยาได้อย่างรวดเร็ว กินข้าวเช้าที่ปั๊มน้ำมัน เดินเล่นซื้อขนมขึ้นรถ หลังจากนั้นก็หลับต่อไป ตื่นขึ้นมาอีกทีอยู่ที่ จังหวัดสระบุรี
เป็นบ้านไปเรือนไทย ร่มรื่นสวยงาม ของอ.ทรงชัย ฝั่งแรกที่ไป เป็นบ้านที่ดำรงเอกลักษณ์ละความเป็นอยู่ของไทย ด้านหน้าเป็นลานดินโปร่งโล่ง ถูกแวดล้อมด้วยไม้นานาพันธุ์ นำภูมิปัญญาเดิมของบรรพบุรุษมาใช้ ด้านในมีเรือน 3 เรือนล้อมรอบบ่อน้ำขนาดใหญ่ บรรยากาศดีมาก....สวยงาม....เป็นเรือนไม้จริง เลี้ยง นก หมา ไก่ หลายชนิด อ.เล่าว่าเหตุผลที่ย้อนกลับมาศึกษาและอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยเอาไว้นั้นเนื่องจาก ภูมิปัญญาที่มีอยู่ของเล่านั้น ผ่านระยะเวลามายาวนานและสั่งสมความรู้และถูกปรับปรุงให้เข้ากับชีวิตความเป็นอยู่ของไทย จากรุ่นสู่รุ่น
หลังจากที่สัมผัสแล้วก็รู้สึกว่า Space ของไทยนั้นไม่ได้ดูน่าเบื่อหน่ายไปตามกาลเวลาเหมือนที่บางครั้งเราคิดว่า อาคารนั้นดูโบราณไม่ทันสมัย ความรู้สึกในการรับรู้ของ space ที่สัมผัสได้นั้นสวยงามมาก เมื่อได้เข้าไปใช้ก็รู้สึกว่าน่าอยู่ ขนาดต่างๆความกว้างความสูงพอเหมาะกับสัดส่วนของคนไทย ทำให้เรือนต่างๆแสดงถึงความเป็นที่อยู่อาศัยแบบพอเพียง ไม่โอ่อ่า ชายคาไม่สูง เย็นสบาย พื้นไม้ที่เดินแล้วให้ความรู้สึกไม่แข็ง ความสวยงามของการ แสดงโครงสร้างหลังคา ไม่มีผ้า ทำให้อาคารดูโล่งโปร่ง ข้ามมาอีกฝั่งหนึ่ง เป็นพิพิธภัณฑ์เรือของแม่น้ำป่าสัก
หลังจากที่สัมผัสแล้วก็รู้สึกว่า Space ของไทยนั้นไม่ได้ดูน่าเบื่อหน่ายไปตามกาลเวลาเหมือนที่บางครั้งเราคิดว่า อาคารนั้นดูโบราณไม่ทันสมัย ความรู้สึกในการรับรู้ของ space ที่สัมผัสได้นั้นสวยงามมาก เมื่อได้เข้าไปใช้ก็รู้สึกว่าน่าอยู่ ขนาดต่างๆความกว้างความสูงพอเหมาะกับสัดส่วนของคนไทย ทำให้เรือนต่างๆแสดงถึงความเป็นที่อยู่อาศัยแบบพอเพียง ไม่โอ่อ่า ชายคาไม่สูง เย็นสบาย พื้นไม้ที่เดินแล้วให้ความรู้สึกไม่แข็ง ความสวยงามของการ แสดงโครงสร้างหลังคา ไม่มีผ้า ทำให้อาคารดูโล่งโปร่ง ข้ามมาอีกฝั่งหนึ่ง เป็นพิพิธภัณฑ์เรือของแม่น้ำป่าสัก
และเราก็ได้นั่งกินข้าวกันที่นี่ซึ่งที่บริเวณนี้ตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำป่าสัก มีแพด้านล่างเป็นเรือนเครื่องผูก ส่วนตัวเรือนด้านบนนั้นเป็นเรือนไม้จริงที่สร้างอยู่บนเนินที่มีความลาดชันสูงวางให้ลดหลั่นไล่ระดับไป ซึ่งนอกจากที่เราจะได้ความรู้เรื่องสถาปัตยกรรมแล้ว เรายังได้ความรู้ในด้านศิลปวัฒนธรรมอีกด้วย เนื่องจากว่าหลังจากที่เรากินข้าวกันเสร็จก็มีน้องๆ ที่เรียนการแสดงอยู่ที่ศูนย์วัฒนธรรมนี้มาแสดงให้ดู จึงได้ดูการฟ้อนแบบนกยูงรำแพนซึ่งก็จำชื่อไม่ได้ดีนัก แต่ว่าเป็นการแสดงที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน ทำให้เกิดความประทับใจเป็นอย่างมาก หลังจากทู่การแสดงจบเราก็ออกเดินทางกันต่อไปยัง จังหวัดกำแพงเพชร
วัดพระนอนกำแพงเพชร เป็นวัดที่สร้างด้วยศิลาแลงและหลังคาที่ทำด้วยไม้ ซึ่งตอนนี้ส่วนที่เหลืออยู่นั้นก็มีเพียงศิลาแลง นอกจากความงามทางด้านสถาปัตยกรรมแล้วยังแสดงถึงภูมิปัญญาทางด้านการสร้างสภาพแวดล้อมของอาคารให้เข้ากับพื้นที่โดยรอบที่อาจเป็นเพราะผ่านเวลามานาน ทุ่งหญ้าสีเขียวๆที่ตัดกับสีของศิลาแลง ต่อจากนั้นก็เดินไปชมพระทั้ง 4 อิริยาบถ คือ ปรางค์สมาธิ ปรางค์นอน ปรางค์ยืน และปรางค์ลีลา หลังจากนั้นก็ไปกินข้าวกันที่ตลาดโต้รุ่ง ก่อนจะไปที่พักที่ลำปางงงง
วัดพระนอนกำแพงเพชร เป็นวัดที่สร้างด้วยศิลาแลงและหลังคาที่ทำด้วยไม้ ซึ่งตอนนี้ส่วนที่เหลืออยู่นั้นก็มีเพียงศิลาแลง นอกจากความงามทางด้านสถาปัตยกรรมแล้วยังแสดงถึงภูมิปัญญาทางด้านการสร้างสภาพแวดล้อมของอาคารให้เข้ากับพื้นที่โดยรอบที่อาจเป็นเพราะผ่านเวลามานาน ทุ่งหญ้าสีเขียวๆที่ตัดกับสีของศิลาแลง ต่อจากนั้นก็เดินไปชมพระทั้ง 4 อิริยาบถ คือ ปรางค์สมาธิ ปรางค์นอน ปรางค์ยืน และปรางค์ลีลา หลังจากนั้นก็ไปกินข้าวกันที่ตลาดโต้รุ่ง ก่อนจะไปที่พักที่ลำปางงงง
ทริป อ.จิ๋ว 4-12 ก.ค.2552
5 ก.ค.2552 (วันที่ 2)
เช้านี้เราใช้ชีวิตกันอยู่ที่ ลำปาง วันนี้เหมือนฝนฟ้าไม่ค่อยเป็นใจนัก ฝนตกพรำๆ ตั้งแต่เช้า ก่อนออกกินข้าวที่ร้านข้าวซอยโอมา ข้างโรงแรมที่เราพัก อร่อยมาก....แต่ว่าอย่าเผลอใส่พริกเท่าที่กินปกติที่อื่น พริกเผ็ดมากกก อาจจะต้องทิ้งทั้งชาม นอกจากข้าวซอยแล้วร้านนี้ก็ยังมีขนมปังหน้าหมู หมูสะเต๊ะ สองอย่างนี้ก็อร่อยดี พอกินอิ่ม แล้วยังเหลือเวลาเพราะนัดกันไว้จะออกตอน 8 โมง ก็เลยเดินไปที่ตลาด ที่อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากโรงแรม ซึ่งจริงๆแล้วตลาดก็ไม่ได้มีของอะไรขายมากมายนัก แต่ก็พอหาซื้ออะไรเป็นเสบียงเตรียมไว้สำหรับการเดินทางได้ พอมีพวกเราไปทีร้าค้าแถวนั้นขายดีขึ้นเป็นเทน้ำเทท่า ร้านหมูทอดหยิบกันไม่ทันเลย แล้วก็เดินเข้าเซเว่น เตรียมตัวรับมือกับฝนเท่าที่จะทำได้ ถึงฝนตกก็ไม่มีอะไรหยุดเราได้ ฮ่าๆๆๆ
8 โมงกว่าๆ ออกเดินทาง เป้าหมายแรกที่เราไปกันวันนี้คือ
เช้านี้เราใช้ชีวิตกันอยู่ที่ ลำปาง วันนี้เหมือนฝนฟ้าไม่ค่อยเป็นใจนัก ฝนตกพรำๆ ตั้งแต่เช้า ก่อนออกกินข้าวที่ร้านข้าวซอยโอมา ข้างโรงแรมที่เราพัก อร่อยมาก....แต่ว่าอย่าเผลอใส่พริกเท่าที่กินปกติที่อื่น พริกเผ็ดมากกก อาจจะต้องทิ้งทั้งชาม นอกจากข้าวซอยแล้วร้านนี้ก็ยังมีขนมปังหน้าหมู หมูสะเต๊ะ สองอย่างนี้ก็อร่อยดี พอกินอิ่ม แล้วยังเหลือเวลาเพราะนัดกันไว้จะออกตอน 8 โมง ก็เลยเดินไปที่ตลาด ที่อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากโรงแรม ซึ่งจริงๆแล้วตลาดก็ไม่ได้มีของอะไรขายมากมายนัก แต่ก็พอหาซื้ออะไรเป็นเสบียงเตรียมไว้สำหรับการเดินทางได้ พอมีพวกเราไปทีร้าค้าแถวนั้นขายดีขึ้นเป็นเทน้ำเทท่า ร้านหมูทอดหยิบกันไม่ทันเลย แล้วก็เดินเข้าเซเว่น เตรียมตัวรับมือกับฝนเท่าที่จะทำได้ ถึงฝนตกก็ไม่มีอะไรหยุดเราได้ ฮ่าๆๆๆ
8 โมงกว่าๆ ออกเดินทาง เป้าหมายแรกที่เราไปกันวันนี้คือ
วัดไหล่หิน พอมาถึง อ.จิ๋ว ก็อธิบายให้ฟัง ในด้านของสถาปัตยกรรมของวัด ในเรื่องลักษณะของอาคาร การใช้สัดส่วน ระนาบ รวมไปถึงวัสดุต่างๆที่นำมาใช้นั้น ล้วนเกิดขึ้นจากภูมิปัญญา การใช้ลานทรายที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้งานสถาปัตยกรรมของมนุษย์ ในสมัยก่อนคนที่เดินเข้าวัดนั้นจะถอดรองเท้าตั้งแต่ผ่านสิงห์หน้าประตูวัด และเดินเท้าเปล่าผ่านลานทรายเข้ามายังตัววัด หากวัสดุที่ปูพื้นนั้นเป็นกรวดหรือหิน ก็จะร้อนและเจ็บเมื่อเดิน การลวงตาเพื่อแสดงว่าอาคารนั้นมีขนาดใหญ่มากเกินจริง ด้วยการสร้างฉากหลัง และการเล่นระนาบต่างๆที่สวยงาม ที่เกิดจากวัสดุที่ซ้อนทับกัน เกิดเส้นหนาบาง มีมิติ การลดหลั่นซ้อนทับกัน และฝากความคิดที่ว่า การที่จะสร้างสถาปัตยกรรมใหม่รายรอบสถาปัตยกรรมที่มีอยู่เดิมนั้น ควรจะตระหนักว่า สิ่งใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นจะต้องไม่รบกวนลักษณะและรูปแบบเดิมที่มีอยู่ ภายหลังจากการบรรยายของอาจารย์ ก็เข้าไปในตัววัด ซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่ นัก มีวิหารคดอยู่รอบนอก ตรงกลางเข้าไปเจอวิหาร และมีเจดีย์อยู่ด้านหลัง เป็นโครงสร้างก่ออิฐผสมผสานกับโครงสร้างไม้ วิหารมีขนาดเล็ก แต่เมื่อเข้าไปสัมผัสภายในรู้สึกว่าใหญ่กว่าที่ตาเห็น โครงสร้างเป็นแบบล้านนา มีการลดชั้นหลังคา ไม่มีการตีฝ้าเผยให้เห็นโครงสร้างภายในได้อย่างชัดเจน อ.จิ๋วกล่าวว่าการไม่มีฝ้าเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน หากมีการรั่วซึมก็สามารถรู้จุดที่รั่วและแก้ไขได้ทันที วิหารแห่งนี้ยังคงลักษณะเดิมเอาไว้ได้มาก แต่บริบทรอบด้านนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่เข้ากับสภาพเดิม กระทบกระเทือนต่อภาพลักษณ์เดิมเป็นอย่างมาก
เป้าหมายที่สองของวันนี้คือ วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่และมีความสำคัญของจังหวัดลำปางเป็นอย่างมาก มีลักษณะล้านนาในรูปแบบของลำปาง สภาพในภูมิทัคน์ ณ ตอนนี้ถูกรบกวนจากสิ่งปลูกสร้างแบบใหม่ จนแทบไม่เหลือรูปแบบเดิม ลักษณะของอาคาร ด้านบนเมื่อเข้าไปจะพบวิหารอยู่ด้านหน้า อย่างกระชั้น ทางเข้าเล็กแคบบีบ เมื่อแหงนหน้ามองเจอวิหารขนาดใหญ่ด้านหน้า ก่อให้เกิดความรู้สึกตกตะลึง รอบนอกมีพื้นที่เป็นวิหารคด ทางด้านซ้ายมือเป็นลานทราย แต่ทางด้านขวามถูกปรับสภาพให้เป็นพื้นอิฐ ทำให้เกิดความแข็งกระด้างไม่เหมือนกับลานทราย สิ่งเหล่านีข้ามาเพราะสภาพความใช้งานที่ปรับเปลี่ยนไปตามการใช้งานของมนุษย์ ซึ่งบ้างครั้งมิได้คำนึงถึงสภาพทางวัฒนธรรมเดิม อีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นภายในวัดนี้คือวิหารท่อยู่ทางด้านขวามือ ซึ่งเป็นวิหารสองวิหาร หนึ่งได้รับการบรูณะปฏิสังขรใหม่ อีกวิหารหนึ่งยังไม่ได้ปฏิสังขร ในส่วนตัวของข้าพเจ้าแล้วเรื่องความงานหรือสัดส่วนที่มองเห็นนั้น ข้าพเจ้าคิดว่า วิหารที่ยังไม่ได้รับการบรูณะนั้นสวยงามกว่ามาก ทั้งในเรื่องของเส้นหนาบาง ระนาบต่างๆตามที่อ.จิ๋วเคยได้กล่าวไว้ หลังคาที่เป็นกระเบื้องแบบใหม่นั้นยังไม่กลมกลืนกับส่วนอื่นๆ ขณะที่อยู่ภายในวิหารอาจารย์ได้มีการเสนอความคิดทางด้านอนุรักษ์ เพราะขณะนี้ที่พระธาตุลำปางหลวงนั้น กำลังมีการบรูณธใหม่โดยกรมศิลปากรอยู่ โดยมีพวกเรานั่งฟังอยู่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็แยกย้ายกันไปถ่ายรูปตามที่ต่างๆ การอนุรักษ์นั้นเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนมาก ไม่ว่าจะมีการทำในรูปแบบไหนนั้นก็มีความเป็นไปได้ในการขัดแย้งสูง เนื่องจากทรรศนคติและแนวความคิดที่ไม่ตรงกัน ซึ่งในความเป็นจริงนั้นการอนุรักษ์เป็นไปได้หลายรูปแบบ อาจารย์ท่านแรกมีแนวความคิดในการอนุรักษ์ในรูปแบบ คงไว้ซึ่งของเดิม รักษาความเป็นของแท้ ไม่ให้มีการทำลายปล่อยให้เป็นโบราณสถานที่เก่าไปตามกาลเวลา หรือหากจะมีการปรับปรุงนั้นก็ความที่จะศึกษาอย่างแน่ชัดว่าของเดิมนั้นเป็นอย่างไร หากทำแล้วจะได้เหมือนเดิมจริงหรือไม่ บางครั้งความสวยงามที่เกิดขึ้นนั้น อาจมาจากส่วนเล็กๆหลายๆส่วนมารวมกัน ทั้งความประณีตในการฉาบปูน วัสดุที่ใช้แตกต่างกัน สี หากมีการทำใหม่ก็เหมือนเดิมได้ยาก นักวิชาการนักอนุรักษ์ในบ้านเรานั้นแบ่งประเภทของโบราณสถานที่มีชีวิตอยู่หรือตายเพื่อที่จะมีการอนุรักษ์ที่ต่างกันซึ่งก็ไม่มีถูกหรือผิดที่ชัดเจน ส่วนอาจารย์ท่านที่สองมีแนวความคิดในการอนุรักษ์ว่าการปรับปรุงหรือบูรณะก็เป็นอารอนุรักษ์ในอีกรูปแบบ เพื่อดำรงไว้ซึ่งสถาปัตยกรรมไม่ให้เสื่อมไปตามกาลเวลา คงไว้ซึ่งเส้นสายที่สำคัญในงานสถาปัตยกรรม รักษาความเป็นรูปแบบเดิมไว้ให้มาก ซึ่งหลังจากที่นั่งฟัง อาจารย์ทั้งสองท่านที่มีความคิดในเรื่องการอนุรักษ์ของแต่ละท่านแล้วก็รู้สึกว่า บางครั้งตัวเราเองยังมีความใส่ใจกับเรื่องเหล่านี้อยู่น้อยมาก ทำอะไรสนองตัณหาของตัวเองและลูกค้าจนลืมผู้ที่สำคัญที่สุดของอาคารแต่ละที่ไปคือ ผู้ใช้อาคารและชุมชนแห่งนั้น หลังจากฟังอ.ทั้งสองท่านเสร็จก็ไปกินข้าวกลางวัน
กินข้าวกลางวันที่ร้านค้าบริเวณวัดเสร็จ ก็เดินกลับขึ้นไปบริเวณรอบๆวิหารต่อเพื่อจะดู งานสถาปัตยกรรมให้ครบ แล้วเจอ อ.ไก่นั่งอยู่ อาจารย์เลยเรียกไปคุยด้วยในเรื่องที่ได้รับฟังก่อนไปกินข้าว โดยเริ่มแรกอาจารย์ก็ถามความเข้าใจในเรื่องที่ได้ฟังอาจารย์คุยกัน แล้วอ.ไก่ก็สรุปเปรียบเทียบให้ฟังว่าการอนุรักษ์ ก็เปรียบเสมือการมีมะม่วงผลหนึ่งอยู่ แล้วเราจะเก็บรักษามันด้วยวิธีใด ซึ่งมะม่วงผลนั้นอาจจะเก็บด้วยการดองเค็ม การแช่อิ่ม การกวน ซึ่งแต่ละวิธีก็สามารถยืดระยะเวลาได้ยาวขึ้น ซึ่งก็ไม่มีอันไหนผิดหรือถูก แต่ทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งที่ทำนั้นมันจะเหมาะสมกับลักษณะไหนและสถานการณ์แบบไหน อาคารลักษณะ ซึ่งแต่ละแบบอาจจะต้องการการอนุรักษ์ที่ไม่เหมือนกัน แต่ควรจะสรุปให้ได้ว่าสำหรับอาคารที่จะอนุรักษ์แห่งหนึ่งนั้น ลักษณะไหนที่จะดีที่สุดสำหรับอาคารแห่งนี้ ซึ่งก็หมานถึงการเลือกรูปแบบที่เหมาะสมในการอนุรักษ์ หลังจากจบการสนทนาเรื่องการอนุรักษ์ ก็ได้เดินไปดูหอสรงน้ำ ซึ่งหอสรงน้ำเป็นหอขนาดเล็ก ตั้งอยู่ด้านหลังของวัด แต่มีสัดส่วนที่สวยงามโดยย่อมาจากอาคารขนาดใหญ่ โดยไม่ได้ใช้ทุกอย่าง ลดทอนองค์ประกอบได้ดี โครงสร้างที่ใช้สวยงาม ซึ่งอาคารในลักษณะนี้หาได้ยากมาก
เป้าหมายที่สามของวันนี้คือ วัดโปงยางคก เป็นวิหารที่มีขนาดเล็ก มีความเป็นท้องถิ่นที่บริสุทธิ์ ลานทราย พืชพรรณต่างๆ เปล่งคุณค่าของท้องถิ่นอย่างเต็มที่ ถูกรบกวนจากสิ่งอื่นที่เป็นของเทียม วัดนี้มีความสวยงามในทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างมาก มีวิหารตามลักษณะของล้านนา ภายหลังพื้นลานทรายด้านนอกได้ถูกถมและโรยกรวด ซึ่งกรวดที่โรยนั้นทำเห็นเกิดความเจ็บเวลาเดิน ขนาดด้านนอกที่ดูเล็ก แต่เมื่อเข้าไปภายในกลับดูใหญ่ขึ้นอย่างแปลกตา
หลังจากที่วันนี้ดูวัดมาหลายวัดแล้ว ก่อนกลับก็ได้แวะ ดูบ้านที่สร้างจากภูมิปัญญาพื้นถิ่น ยุ้งข้าว ประมาณสามหลังและก็กลับที่พัก ตอนค่ำกินข้าวร้านตี๋น้อย ไม่อร่อยมากกก ต้มยำรสชาติเหมือนต้มข่าไก่
วันนี้อ.จิ๋วได้พูดว่า ความเป็นท้องถื่นที่บริสุทธิ์ Landscape ลานทราย พืชพรรณ จะเปล่งคุณค่าของท้องถื่นอย่างเต็มที่ เทคโนโลยีที่ใหม่ๆที่เกิดขึ้น นำมาประกอบให้สามารถอยู่ด้วยกันได้ โดยการนำเอาภูมิปัญญาเดิมมาปรับปรุงให้เข้ากับความทันสมัย พึ่งตัวเองได้ใช้ไม้เดือย สลัก ลายวิจิตรพิสดาร เส้น หนาบาง รวมกันกับความแวววาวของลวดลายซึ่งเป็นภูมิปัญญาของช่างฝีมือของช่างในอดีต ความสัมพันธ์ของที่โล่งที่มีต่ออาคาร เสื่อ กระถางต้นไม้ ล้วนเป็นความรู้ที่ถูกพัฒนาสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน
กินข้าวกลางวันที่ร้านค้าบริเวณวัดเสร็จ ก็เดินกลับขึ้นไปบริเวณรอบๆวิหารต่อเพื่อจะดู งานสถาปัตยกรรมให้ครบ แล้วเจอ อ.ไก่นั่งอยู่ อาจารย์เลยเรียกไปคุยด้วยในเรื่องที่ได้รับฟังก่อนไปกินข้าว โดยเริ่มแรกอาจารย์ก็ถามความเข้าใจในเรื่องที่ได้ฟังอาจารย์คุยกัน แล้วอ.ไก่ก็สรุปเปรียบเทียบให้ฟังว่าการอนุรักษ์ ก็เปรียบเสมือการมีมะม่วงผลหนึ่งอยู่ แล้วเราจะเก็บรักษามันด้วยวิธีใด ซึ่งมะม่วงผลนั้นอาจจะเก็บด้วยการดองเค็ม การแช่อิ่ม การกวน ซึ่งแต่ละวิธีก็สามารถยืดระยะเวลาได้ยาวขึ้น ซึ่งก็ไม่มีอันไหนผิดหรือถูก แต่ทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งที่ทำนั้นมันจะเหมาะสมกับลักษณะไหนและสถานการณ์แบบไหน อาคารลักษณะ ซึ่งแต่ละแบบอาจจะต้องการการอนุรักษ์ที่ไม่เหมือนกัน แต่ควรจะสรุปให้ได้ว่าสำหรับอาคารที่จะอนุรักษ์แห่งหนึ่งนั้น ลักษณะไหนที่จะดีที่สุดสำหรับอาคารแห่งนี้ ซึ่งก็หมานถึงการเลือกรูปแบบที่เหมาะสมในการอนุรักษ์ หลังจากจบการสนทนาเรื่องการอนุรักษ์ ก็ได้เดินไปดูหอสรงน้ำ ซึ่งหอสรงน้ำเป็นหอขนาดเล็ก ตั้งอยู่ด้านหลังของวัด แต่มีสัดส่วนที่สวยงามโดยย่อมาจากอาคารขนาดใหญ่ โดยไม่ได้ใช้ทุกอย่าง ลดทอนองค์ประกอบได้ดี โครงสร้างที่ใช้สวยงาม ซึ่งอาคารในลักษณะนี้หาได้ยากมาก
เป้าหมายที่สามของวันนี้คือ วัดโปงยางคก เป็นวิหารที่มีขนาดเล็ก มีความเป็นท้องถิ่นที่บริสุทธิ์ ลานทราย พืชพรรณต่างๆ เปล่งคุณค่าของท้องถิ่นอย่างเต็มที่ ถูกรบกวนจากสิ่งอื่นที่เป็นของเทียม วัดนี้มีความสวยงามในทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างมาก มีวิหารตามลักษณะของล้านนา ภายหลังพื้นลานทรายด้านนอกได้ถูกถมและโรยกรวด ซึ่งกรวดที่โรยนั้นทำเห็นเกิดความเจ็บเวลาเดิน ขนาดด้านนอกที่ดูเล็ก แต่เมื่อเข้าไปภายในกลับดูใหญ่ขึ้นอย่างแปลกตา
หลังจากที่วันนี้ดูวัดมาหลายวัดแล้ว ก่อนกลับก็ได้แวะ ดูบ้านที่สร้างจากภูมิปัญญาพื้นถิ่น ยุ้งข้าว ประมาณสามหลังและก็กลับที่พัก ตอนค่ำกินข้าวร้านตี๋น้อย ไม่อร่อยมากกก ต้มยำรสชาติเหมือนต้มข่าไก่
วันนี้อ.จิ๋วได้พูดว่า ความเป็นท้องถื่นที่บริสุทธิ์ Landscape ลานทราย พืชพรรณ จะเปล่งคุณค่าของท้องถื่นอย่างเต็มที่ เทคโนโลยีที่ใหม่ๆที่เกิดขึ้น นำมาประกอบให้สามารถอยู่ด้วยกันได้ โดยการนำเอาภูมิปัญญาเดิมมาปรับปรุงให้เข้ากับความทันสมัย พึ่งตัวเองได้ใช้ไม้เดือย สลัก ลายวิจิตรพิสดาร เส้น หนาบาง รวมกันกับความแวววาวของลวดลายซึ่งเป็นภูมิปัญญาของช่างฝีมือของช่างในอดีต ความสัมพันธ์ของที่โล่งที่มีต่ออาคาร เสื่อ กระถางต้นไม้ ล้วนเป็นความรู้ที่ถูกพัฒนาสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน
ทริป อ.จิ๋ว 4-12 ก.ค.2552
6 ก.ค.2552 (วันที่ 3)
เช้าวันที่สอง ยังคงอยู่ที่ลำปาง ยังคงกินข้าวซอยที่ร้านโอมาเช่นเดิม คราวนี้แก้ตัวด้วยการใส่พริกน้อยๆ หลังจากนั้นก็ไปซื้อข้าวเหนียวหมูทอดที่ร้านป้าร้านเดียวกันกับเมื่อวาน เตรียมเป็นเสบียงสำหรับตอนกลางวัน แล้วก็ขึ้นรถ พอถึงที่อ.จิ๋วก็ได้เรียกไปนั่งฟัง ซึ่งอาจารย์ก็ได้พูดสรุปเรื่องเมื่อวาน เรื่องการใช้ความสามารถของช่าง พัฒนาจากของเดิมขึ้นมาใหม่ เนื่องจากว่าคุณค่าของสิ่งใหม่ๆนั้นยังไม่ได้รับการกลั่งกรองมากพอ โดยใช้ความรู้ที่ได้จากภูมิปัญญาเดิม วัดลำปางหลวงใช้ลักษณะความสัมพันธ์ของ พื้นที่ ความงามที่ไม่ซับซ้อนเข้าใจคุณค่าของที่ว่าง ต่างจากวัดพระแก้วซึ่งเน้นความสำคัญของ แมส โดยพื้นที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันเท่าที่ควร วัดโปงยางคก ใช้ลักษณะของงานสมัยใหม่เข้ามาโดยการเทกรวดแทนลานทราย ซึ่งมีความสวยงามแต่ลำบากต่อการใช้งานหากใช้งานตามรูปแบบเดิม คือเมื่อเดินเท้าเปล่าจะเจ็บ หากเป็นลานทรายเอเดินจะไม่เจ็บ หญ้าไม่ขึ้นรักษาความสะอาดง่าย ให้ความสำคัญกับ space ที่มีความสัมพันธ์กัน บ้านที่หยุดสองข้างทางนั้นปรับปรุงเทคนิคเดิมที่เกิดปัญหาโดยใช้ไม้ บานเลื่อนบานพับ คือเป็นการนำเอาวัสดุหรือการก่อสร้างแบบใหม่เข้ามา เปรียบเสมือนภาษาฝรั่งแต่มีความเป็นพื้นเมืองเหมือนเดิม
วันนี้ฝนตกอีกแล้ว เดินดูหมู่บ้านพื้นถิ่น ซึ่งหมู่บ้านเหล่านี้นั้นมีความเป็นอยู่ที่มีชีวิต บ้านแต่ละหลังนั้นผ่านการปรับปรุงความรู้ทางภูมิปัญญาเดิมให้เข้ากับสมัย จากรุ่นสู่รุ่น ลานดิน หน้าบ้าน พืชพรรณไม้ หลากหลายชนิดที่เลือกมาปลูก ถูกคัดสรรมาอย่างดี การเชื่อต่อของ Space บ้านแต่ละหลัง โดยไม่จำเป็นต้องมีรั้วเหมือนกับบ้านจัดสรรในปัจจุบัน แต่ก็สามารถแบ่งแยกอาณาบริเวณกันได้ เมื่อเดินลึกเข้าไปข้างใน หมู่บ้านที่มีบ้านต่างๆอยู่ ก็จะได้พบกับ นาขั้นไปบันไดที่ สวยมาก....สวยมากจริงๆ ซึ่งทุกลักทุเลกันมากกว่าที่จะเก็บภาพได้แต่ละภาพ เนื่องจากว่าฝนก็ตก ต้องถือร่ม ถือกล้อง ท้องฟ้าก็อึมครึม วัดแสงลำบาก แต่ทุกคนก็ยังจะพยายามต่อไปอย่างทุกลักทุเลเพื่อที่จะได้เก็บรูปกลับมา ได้เดินลงไปในทุ่งนา เจอลุงชาวนาใจดี ซึ่งนานี้ก็ดูมีเทคโนโลยีเข้าใช้ในการทำมากพอสมควร ก็ไม่รู้ว่าวันนี้ที่ฝนตกลุงๆ เขาจะรู้สึกดีกว่าวันแดดออกหรือเปล่า เพราะทำงานวันแดดออกคงจะร้อนน่าดู จากหมู่บ้านที่ดูไม่น่าจะเสียเวลาในการดูมากนัก กลับกินเวลาไปกว่าครึ่งวัน
เดินทางต่อไปยังวัดปลายนา ฟังพระเทศน์ในแบบล้านนา ซึ่งก็ไม่เคยได้ฟังมาก่อน แล้วต่อด้วยการเดินดูหมู่บ้าน ซึ่หมู่บ้านนี้ได้รับางวัลจากการประกวดหมู่บ้านน่าอยู่ เจอบ้านคุณตาคุณยายที่นั่งอยู่บแคร่ โดย Space ที่เชื่อมต่อกันกับ เพื่อนบ้าน ทำให้อาณาบริเวณที่ไม่ใหญ่มากนั้น ดูใหญ่ขึ้นมาได้ แล้วเมื่อเดินออกไปด้านนอก ก็มีทุ่งนาอีกทุ่งนึง ไม่รู้ว่าเป็นอะไรจะต้องเดินลงไปลุยทุกครั้ง หลังจากขึ้นมาจากทุ่งนาก็มาถ่ายรูปกันกับเพื่อนๆ ซึ่งมีรูปที่อ.ไก่ ถ่ายกับแยมด้วย ฮ่าๆๆๆ หลังจากนั้นก็เดินไปล้างเท้าล้างตัวที่เลอะโคลนจากการเดินลุยท้องนา แล้วก็เดินหลุดออกจากกลุ่ม เดินหลงอยู่นานก็ไปเจอเพื่อนอยู่ที่บ้าน อบต.ซึ่ง มีเล้าหมูอยู่ด้วย บ้านแต่ละหลังใจดีมาก เอาน้ำมาให้ดื่มด้วย...สดชื่นนนนน บ้านแต่ละหลังดูอบอุ่นสวยงาม...
ออกจากหมู่บ้านขึ้นรถ ทางผ่านไปแวะซื้อลำไยบริเวณ เพิงที่มีวัว ขอบอกว่าเพิงนี้ไม่ธรรมดา สวยมากกกก เห็นแล้วแทบกรี๊ด เชื่อม Space การลดละดับ ความโปร่งทึบ ของพื้นที่ โดยส่วนตัวชอบมาก หลังจากไปดูหลายๆที่มาในไม่กี่วันนี้ ก็เริ่มรู้สึกว่า บางครั้งชาวบ้านกลับมีความรู้สึก เข้าถึง Space มากกว่าสถาปนิกอีก ฮ่าๆๆ เมื่อดูเสร็จก็กลับไปขึ้นรถ ดู เรือนเครื่องผูก ที่คุณน้าเจ้าของบ้านใจดีมากกก เอาเม็ดขนุนต้มมาให้กิน แล้วยังแถมด้วยขนุนที่อร่อยมากอีก ซึ่งเขาเล่าว่าสร้างบ้านด้วยตัวเองทั้งหลัง ซึ่งเสร็จภายในสี่ถึงห้าวันเอง สุดยอดดด ขอยอมรับ ณ ที่นี้ว่า ต่อให้ให้เวลาข้าพเจ้าเป็นเดือนก็ไม่แน่ว่าจะทำได้ ปกติรู้จักแค่โครงสร้าง UHU กำลังเดินดูบ้านเพลินๆ ก็เกิดเรื่อง คือ พี่ปริญญาโท โดนรถจักรยานยนต์ ชนเข้า เห็นขณะที่ชนแต่เห็นผ่านพุ่มไม้ ยังดีที่ทั้งพี่ทั้งคนขับไม่เป็นอะไรมาก ก็ไม่อะไรแล้วก็ถ่ายรูปต่อไป
ที่สุดท้ายของวันนี้ คือวัดข่วงกอม วัดนี้ถูกออกแบบและสร้างขึ้นโดยสถาปนิกซึ่งเลียนแบบจากของเดิม ทั้งเรื่องแนวคิดสัดส่วน ทุกอย่างหลังจากนั้น ก็เดินไปถ่ายภาพบริเวณบ้านที่อยู่ใกล้วัด แล้วก็เดินลุดลงไปทุ่งนาอีกที่ ซึ่งเดินลงไปลำบากมาก ดินเหลวเละ ลื่น ไม่มีที่จับ ไหนจะต้องพยุงกล้องอีก แต่ก็คุ้มค่ากับการเดินลงไป สะพานที่ใช้เดินข้ามน้ำน่ากลัวจะพังมาก หลังจากรับน้ำหนักคนอย่างเราไป ฮ่าๆ เสร็จแล้วก็เดินกลับมาที่เดิม ไปล้างเท้าในลำธาร ซึ่งทุกคนก็เอี้ยวตัวกันล้างสุดชีวิต ห้อยโหนกันกลัวตกน้ำ หารู้กันไหมว่า น้ำตื้นมาก กว่าจะรู้ว่าน้ำตื้น ก็สายเสียแล้ว เสร็จแล้วก็ไปนั่งในวิหาร ฟังอ.จิ๋วคุยกับพระ เสร็จแล้วก็กลับที่พัก
ทริป อ.จิ๋ว 4-12 ก.ค.2552
7 ก.ค.2552 (วันที่ 4)
วันสุดท้ายที่ลำปาง เก็บของยัดใส่กระเป๋าแล้วลุยต่อ เปลี่ยนที่กินข้าวเช้าเป็นแถวหน้าสถานีรถไฟลำปาง เป็นร้านก๋วยจั๊บ ไม่ค่อยอิ่มเท่าไหร่ แต่ก็ถือว่าอร่อยดี หลังจากนั้นก็เตรียมเสบียงสำหรับกลางวัน ออกจากที่พักประมาณ 9 โมงได้ มุ่งหน้าไปยัง
วันสุดท้ายที่ลำปาง เก็บของยัดใส่กระเป๋าแล้วลุยต่อ เปลี่ยนที่กินข้าวเช้าเป็นแถวหน้าสถานีรถไฟลำปาง เป็นร้านก๋วยจั๊บ ไม่ค่อยอิ่มเท่าไหร่ แต่ก็ถือว่าอร่อยดี หลังจากนั้นก็เตรียมเสบียงสำหรับกลางวัน ออกจากที่พักประมาณ 9 โมงได้ มุ่งหน้าไปยัง
วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม เมื่อไปถึงอ.จิ๋วก็ได้ บรรยายเกี่ยวกับความเป็นสถาปัตยกรรมล้านน้า เรื่องหลังคา ซึ่งหลังคาจะมีลักษณะการยกหลังคาแต่ละตับห่างกัน จึงเกิดมีแผงคอสองไว้สำหรับแยกตัวหลังคาอย่างชัดเจน ลักษณะของวัดนี้ มีกำแพงอิฐปิดแบบเป็นผนังรับน้ำหนัก ก่ออิฐมีช่องหน้าต่าง ใช้ระเบียบโครงสร้างไว้วางตามแรง สัดส่วนที่เกิดจากลักษณะของการรับแรง แล้วประดับตกแต่งลวดลาย ซึ่งวางตามทิศทางของโครงสร้าง เสาด้านหน้าเป็นเสาแปดเหลี่ยม ด้านในเป็นเสากลม ยกบันได มีสิงห์ สองตัวด้านหน้า ใช้หลังคาลด กำแพงลดระดับ ซึ่งหลังคาที่ลดชั้นนั้น จะเป็นสัญลักษณ์ในการคลุมพื้นที่ศักดิ์สิทธ์ ซึ่งวัดทางเหนือนั้นจะไม่มีศาลาการเปรียญเช่นในภาคกลาง วิหารทำหน้าที่เป็นศาลาการเปรียญด้วย โบสถ์จะมีขนาดเล็ก โดยวัดนี้มีวัฒนธรรมของพม่าแทรกซึมเข้ามาผ่านรูปแบบของอาคาร ซึ่งบางส่วนนั้นก็แสดงถึงวัฒนธรรมของอังกฤษ
เป้าหมายที่สองของวันนี้คือ วัดปงสนุก เหนือใต้ แต่เดิมมีเพียงแห่งเดียวแต่ตอนหลังได้สร้างเพิ่ม แต่ใช้เจดีย์ร่วมกัน เสริมด้วยการก่ออิฐโดยไม่ใช้ปูน เชื่อว่ามณฑปนี้สร้างให้พระพุทธเจ้า 4 องค์ ซึ่งองค์ที่ 5 ยังไม่มา ซึ่งมณฑปนี้อ.ไก่ให้คนที่ขาดเรียน ตัดโมเดล มณฑปโครงสร้างสลับซับซ้อน ตรงบริเวณที่โครงสร้างสลับซับซ้อนนั้นจะมีดาวติดอยู่ การที่โครงสร้างนี้ซับซ้อนเนื่องจากต้องการให้เสานั้นไม่อยู่ตรงบริเวฯมุมบดบังทรรศนียภาพ ของพระพุทธเจ้า โครงสร้างหลังคาแอ่นขึ้น เป็นความวิจิตรที่ผ่านการคัดสรรมาอย่างดี ความสวยงามของมณฑปนั้นอยู่ที่โครงสร้าง ส่วนลวดลายยังคงเป็นงานที่ไม่สมบูรณ์นัก เกิดจากฝีมือความรู้ของช่างที่ยังไม่สมบูรณ์แบบในตัวเองเหมือนงานคลาสิก (Folk)
หลังจากที่ออกมาจากวัดปงสนุกก็ไปต่อที่วัดศรีรองเมือง พอออกจากรถฝนก็ตกอย่างหนัก เรามานั่งกินข้าวที่บริเวณชานหน้าวัด พระท่านใจดีนำอาหารที่เหลือจากเพลมาแจก มาพูดถึงวัดนี้เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีวัฒนธรรมของพม่าสร้างด้วยไม้สัก เนื่องจากว่า ในสมัยก่อนนั้นอังกฤษ ทำสัญญากับเอเชียตะวันตออกเฉียงใต้ เพื่อทำอุตสาหกรรมป่าไม้และได้ มาทำสัมปทานกับแพร่ ลำปาง เชียงใหม่ ฯ โดยให้พม่าจากมะละแหม่ง ซึ่งวัดนี้เป็นชาวพม่าสร้าง โดยอาคารนั้นเป็นทั้ง ศาลาการเปรียญ วิหาร กุฏิ มีการลดระดับเป็นลำดับชั้น โดยให้พระประทานอยู่สูงสุด ประตูเมื่อเปิดออกจะเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะ หลังคาที่ซ้อนทับกันนั้นเชื่อด้วยรางน้ำสลับซับซ้อน คาดว่าเป็นช่างชุดเดียวกันกับมณฑปที่วัดปงสนุก สร้างเสร็จประมาณปี พ.ศ. 2400 โดยมีระเบียบอาคารเป็นแบบพม่า แยกโบสถ์ เจดีย์ ยกใต้ถุนสูง ใช้สังกะสีเป็นเครื่องมุง มีแนวความคิดเรื่องความหรูหราฟุ่มเฟือย ซึ่งแตกต่างกับของญี่ปุ่นเพราะญี่ปุ่นเน้นในเรื่องความเป็นจริงของธรรมชาติ แต่อันนี้จำลองมาจากสวรรค์วิมาร โดยการผสมผสานสิ่งต่างๆเข้าด้วยกัน ช่องเปิดโปร่งต่อเนื่องกันในอาคาร
ระหว่างทางไปเชียงใหม่ก็แวะที่ลำพูน เป็นบ้านยองโบราณ บ้านมะกอก เรือนไม้หลังแรกนั้น เป็นเจ้าของเดิมที่สร้างนั้นเป็นช่างไม้ คุณน้าใจดีให้เดินขึ้นไปบนบ้าน ด้วยความที่ว่าเจ้าของบ้านเป็นช่างไม้ รายละเอียดส่วนต่างๆจึงถือได้ว่า เนี๊ยบทุกระเบียดนิ้ว ทั้งการเข้าไม้รอยต่อต่างๆ ดูเรียบร้อยจนแทบไม่เห็นรอยต่อ โดยพื้นไม่และตงนั้นแทบจะไม่ต้องยึดด้วยตะปูเลย Space ด้านบนเป็นพื้นที่โล่งมีการเล่นระดับแยกพื้นที่นังเล่น อเนกประสงค์กับห้องนอน โดยที่ให้ห้องนอนอยู่สูงกว่า หลังคามีลักษณะการมาชนกัน จึงมีการคิดรายละเอียดของการทำรางน้ำซึ่งคาดว่าได้นำมาซ่อมแซมใหม่ ภายหลัง ห้องนอนมีการคิดรายละเอียดเล็กน้อยต่างๆเช่น เสามุ้ง ชั้นวางของ และแม้กระทั่งลูกบิดประตู ด้านหลังบ้านเป็นส่วนของครัว ห้องเก็บของ แล้วที่สำคัญคือห้องน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดโล่งที่น่ารักมาก เจ้าของบ้านหลังนี้นคงเป็นคนที่มีฐานะน่าดู แล้วก็เดินออกไปดูยุ้งข้าวด้านนอก หลังจากใช้เวลาเดินวนไปเวียนมาในบ้านนี้อยู่นาน ก็ถึงเวลาที่ต้องไปบ้านอีกหลังที่อยู่ไม่ไกลนัก
บ้านโบราณหลังนี้เป็นบ้านที่สร้างในยุคเดียวกันกับบ้านหลังที่ผ่านมา ซึ่งเจ้าของนั้นเป็นเพื่อนกัน บ้านหลังนี้ได้รับการอนุรักษ์ และดูแลรักษาอย่างดี มีคุณยายอยู่หนึ่งคน ซึ่งบ้านนี้ใช้เป็นที่สอนสาวๆที่จะประกวดนางงาม บ้านหลังนีกแยกตัวเรือนนอนกับเรือนครัวอย่างเด่นชัดด้วยทางเดืน ตรงกลาง ลักษณะการก่อสร้างก็เป็นรูปแบบเดียวกันกับเรือนที่ผ่านมา ส่วนครัวมีเตาไฟแล้วก็ที่สำหรับอบเครื่องมือเครื่องใช้พวกหวายให้มอดไม่กิน มีเครื่องครัวแบบโบราณ แล้วก็มีห้องนอนสามห้อง พื้นที่อเนกประสงค์ ด้วยความที่พื้นเป็นไม้ เวลาที่เดินทำให้รู้สึกว่านุ่มเท่ากว่าการเดินบนพื้นคอนกรีตหรือกระเบื้อง การจัดแบ่งลักษณะการใช้สอยแปรเปลี่ยนไปตามสมัยและการใช้งานที่แปรเปลี่ยนไป ล้วนเป็นการกลั่นกรองจากรุ่นสู่รุ่น ภายหลังจากที่ดูบ้านหลังนี้เสร็จเราก็เดินทางต่อ โดยแวะไปกินข้าวที่ลำพูน ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังสนามกีฬา 700 ปีเชียงใหม่ ก่อนลงจากรถมีกระบอกไม้ไผ่ หล่นลงมาใส่หัวลูกปัด เลยแอบวุ่นวายกันเล็กน้อย แต่ก็ไม่เป็นอะไรมาก เลยกลับเข้าสู่ที่พักไปเดินเล่นที่สนามบอลแล้วก็นอน
เป้าหมายที่สองของวันนี้คือ วัดปงสนุก เหนือใต้ แต่เดิมมีเพียงแห่งเดียวแต่ตอนหลังได้สร้างเพิ่ม แต่ใช้เจดีย์ร่วมกัน เสริมด้วยการก่ออิฐโดยไม่ใช้ปูน เชื่อว่ามณฑปนี้สร้างให้พระพุทธเจ้า 4 องค์ ซึ่งองค์ที่ 5 ยังไม่มา ซึ่งมณฑปนี้อ.ไก่ให้คนที่ขาดเรียน ตัดโมเดล มณฑปโครงสร้างสลับซับซ้อน ตรงบริเวณที่โครงสร้างสลับซับซ้อนนั้นจะมีดาวติดอยู่ การที่โครงสร้างนี้ซับซ้อนเนื่องจากต้องการให้เสานั้นไม่อยู่ตรงบริเวฯมุมบดบังทรรศนียภาพ ของพระพุทธเจ้า โครงสร้างหลังคาแอ่นขึ้น เป็นความวิจิตรที่ผ่านการคัดสรรมาอย่างดี ความสวยงามของมณฑปนั้นอยู่ที่โครงสร้าง ส่วนลวดลายยังคงเป็นงานที่ไม่สมบูรณ์นัก เกิดจากฝีมือความรู้ของช่างที่ยังไม่สมบูรณ์แบบในตัวเองเหมือนงานคลาสิก (Folk)
หลังจากที่ออกมาจากวัดปงสนุกก็ไปต่อที่วัดศรีรองเมือง พอออกจากรถฝนก็ตกอย่างหนัก เรามานั่งกินข้าวที่บริเวณชานหน้าวัด พระท่านใจดีนำอาหารที่เหลือจากเพลมาแจก มาพูดถึงวัดนี้เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีวัฒนธรรมของพม่าสร้างด้วยไม้สัก เนื่องจากว่า ในสมัยก่อนนั้นอังกฤษ ทำสัญญากับเอเชียตะวันตออกเฉียงใต้ เพื่อทำอุตสาหกรรมป่าไม้และได้ มาทำสัมปทานกับแพร่ ลำปาง เชียงใหม่ ฯ โดยให้พม่าจากมะละแหม่ง ซึ่งวัดนี้เป็นชาวพม่าสร้าง โดยอาคารนั้นเป็นทั้ง ศาลาการเปรียญ วิหาร กุฏิ มีการลดระดับเป็นลำดับชั้น โดยให้พระประทานอยู่สูงสุด ประตูเมื่อเปิดออกจะเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะ หลังคาที่ซ้อนทับกันนั้นเชื่อด้วยรางน้ำสลับซับซ้อน คาดว่าเป็นช่างชุดเดียวกันกับมณฑปที่วัดปงสนุก สร้างเสร็จประมาณปี พ.ศ. 2400 โดยมีระเบียบอาคารเป็นแบบพม่า แยกโบสถ์ เจดีย์ ยกใต้ถุนสูง ใช้สังกะสีเป็นเครื่องมุง มีแนวความคิดเรื่องความหรูหราฟุ่มเฟือย ซึ่งแตกต่างกับของญี่ปุ่นเพราะญี่ปุ่นเน้นในเรื่องความเป็นจริงของธรรมชาติ แต่อันนี้จำลองมาจากสวรรค์วิมาร โดยการผสมผสานสิ่งต่างๆเข้าด้วยกัน ช่องเปิดโปร่งต่อเนื่องกันในอาคาร
ระหว่างทางไปเชียงใหม่ก็แวะที่ลำพูน เป็นบ้านยองโบราณ บ้านมะกอก เรือนไม้หลังแรกนั้น เป็นเจ้าของเดิมที่สร้างนั้นเป็นช่างไม้ คุณน้าใจดีให้เดินขึ้นไปบนบ้าน ด้วยความที่ว่าเจ้าของบ้านเป็นช่างไม้ รายละเอียดส่วนต่างๆจึงถือได้ว่า เนี๊ยบทุกระเบียดนิ้ว ทั้งการเข้าไม้รอยต่อต่างๆ ดูเรียบร้อยจนแทบไม่เห็นรอยต่อ โดยพื้นไม่และตงนั้นแทบจะไม่ต้องยึดด้วยตะปูเลย Space ด้านบนเป็นพื้นที่โล่งมีการเล่นระดับแยกพื้นที่นังเล่น อเนกประสงค์กับห้องนอน โดยที่ให้ห้องนอนอยู่สูงกว่า หลังคามีลักษณะการมาชนกัน จึงมีการคิดรายละเอียดของการทำรางน้ำซึ่งคาดว่าได้นำมาซ่อมแซมใหม่ ภายหลัง ห้องนอนมีการคิดรายละเอียดเล็กน้อยต่างๆเช่น เสามุ้ง ชั้นวางของ และแม้กระทั่งลูกบิดประตู ด้านหลังบ้านเป็นส่วนของครัว ห้องเก็บของ แล้วที่สำคัญคือห้องน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดโล่งที่น่ารักมาก เจ้าของบ้านหลังนี้นคงเป็นคนที่มีฐานะน่าดู แล้วก็เดินออกไปดูยุ้งข้าวด้านนอก หลังจากใช้เวลาเดินวนไปเวียนมาในบ้านนี้อยู่นาน ก็ถึงเวลาที่ต้องไปบ้านอีกหลังที่อยู่ไม่ไกลนัก
บ้านโบราณหลังนี้เป็นบ้านที่สร้างในยุคเดียวกันกับบ้านหลังที่ผ่านมา ซึ่งเจ้าของนั้นเป็นเพื่อนกัน บ้านหลังนี้ได้รับการอนุรักษ์ และดูแลรักษาอย่างดี มีคุณยายอยู่หนึ่งคน ซึ่งบ้านนี้ใช้เป็นที่สอนสาวๆที่จะประกวดนางงาม บ้านหลังนีกแยกตัวเรือนนอนกับเรือนครัวอย่างเด่นชัดด้วยทางเดืน ตรงกลาง ลักษณะการก่อสร้างก็เป็นรูปแบบเดียวกันกับเรือนที่ผ่านมา ส่วนครัวมีเตาไฟแล้วก็ที่สำหรับอบเครื่องมือเครื่องใช้พวกหวายให้มอดไม่กิน มีเครื่องครัวแบบโบราณ แล้วก็มีห้องนอนสามห้อง พื้นที่อเนกประสงค์ ด้วยความที่พื้นเป็นไม้ เวลาที่เดินทำให้รู้สึกว่านุ่มเท่ากว่าการเดินบนพื้นคอนกรีตหรือกระเบื้อง การจัดแบ่งลักษณะการใช้สอยแปรเปลี่ยนไปตามสมัยและการใช้งานที่แปรเปลี่ยนไป ล้วนเป็นการกลั่นกรองจากรุ่นสู่รุ่น ภายหลังจากที่ดูบ้านหลังนี้เสร็จเราก็เดินทางต่อ โดยแวะไปกินข้าวที่ลำพูน ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังสนามกีฬา 700 ปีเชียงใหม่ ก่อนลงจากรถมีกระบอกไม้ไผ่ หล่นลงมาใส่หัวลูกปัด เลยแอบวุ่นวายกันเล็กน้อย แต่ก็ไม่เป็นอะไรมาก เลยกลับเข้าสู่ที่พักไปเดินเล่นที่สนามบอลแล้วก็นอน
ทริป อ.จิ๋ว 4-12 ก.ค.2552
8 ก.ค.2552 (วันที่ 5)
เช้านี้อยู่ที่เชียงใหม่ ตื่นเช้ามา ก็ขึ้นรถ วันนี้มีเพื่อนไม่สบาย 2 คน อ.น้ำ เลยบอกว่าจะพาไปหาหมอที่ มช. คนที่ไม่ได้เป็นอะไรเลยแยกย้ายกันไปกินข้าวที่ กากต้นพยอมหน้ามหาวิทยาลัย ไปกินข้าวแกงร้านลุงไท ข้างโรงแรมพิงค์พยอมอร่อยมาก หลังจากกินข้าวเสร็จ เพื่อนๆก็กลับมาจากโรงพยาบาล แล้วกเดินทางต่อไปยัง วัดพันเตา เชียงใหม่ ซึ่งวัดนี้เป็นวัดไม้ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง โดยวิหารแห่งนี้เป็นวิหารไม้เทคโนโลยีที่ใช้เป็นเทคโนโลยีของช่างชั้นครู ซึ่งวิหารนี้แต่เดิมเป็นหอคำของเจ้าเมือง ใต้ถุนสูง ไม่มีมุกแต่มีมณฑปยื่นออกมารับด้านหน้า และที่สำคัญคือไม่มการขยายแปลน เกิดจากระเบียบเดียวกันกับวัดโปงยางคก ทำไม้จากด้านนอก และปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ประกอบได้ โดยใช้ประสบการณ์ ซึ่งลักษณะเป็นของล้านนา ประตูมีขนาดแคบ กระชั้นกับวิหาร หลังวิหารมีเจดีย์ ภายในวัดนี้ ยังมีเพิงที่เป็นเครื่องผูก สำหรับใช้เป็นร่มเงาชั่วคราว อยู่ด้านหลัง
จากนั้นเราก็เดินต่อไปยังโรงแรมใกล้ๆ ชื่อ U Chaing Mai Hotel ซึ่งโรงแรมนี้ได้ประยุกต์การใช้งานจากบ้านโบราณเดิมมาสร้างเอกลักษณ์ของโรงแรม วัสดุใหม่เก่าที่นำมาผสมผสานอย่างลงตัว ไม้เดิมทำสีใหม่ คอนกรีต กระจก เหล็ก การจัดทางเข้าด้านหน้า ดูเป็นงานสมัยใหม่ที่ยังคงมีความเป็นไทยแผงอยู่ การเลือกพืชพรรณที่นำมาใช้ บ้านหลังเดิมเป็นบ้านสีฟ้าเจ้าของเป็นท่านขุน ที่รู้ถึงประวัติศาสตร์และพยายามทำให้ไม่สูญไป พยายามรักษารูปแบบเดิมด้วยการเชื่อมต่ออาคารใหม่ให้โอบล้อมอาคารเดิมไว้โดยใช้หลังคาเดียวกัน ทำผนังให้โปร่งขึ้น โดยมี Form ใหม่ Scale ลักษณะบางอย่างสอดคล้องกับอาคารไม้ โดยมีความเข้าใจในของเดิม เน้นทางเข้าเจาะช่อง พอออกมาจากโรงแรมก็เดินกลับไปขึ้นรถที่วัดพันเตา เพื่อออกเดินทางไปยังเป้าหมายต่อไป
แล้วล้อก็หยุดหมุนที่วัดทุ่งอ้อ โดยวัดนี้มีวิหารขนาดเล็กกระทัดรัด แต่เมื่อเข้าไปแล้วรู้สึดได้ว่าใหญ่กว่าที่เห็นจากด้านนอกไม่แออัด อาจเป็นเพราะช่องแสงที่มี หลังคาที่โปร่ง และการบีบ ขยายแปลน อ.น้ำเล่าว่า วัดแห่งนี้เป็นวัดแบบเชียงใหม่โดยใช้แม่แบบเดิม ซึ่งลักษณะจะแตกต่างกับวัดลำปางหลวงตรงที่ บริเวณรอบๆวิหารจะไม่โปร่ง มีการก่ออิฐ และขยายแปลนซึ่งวัดเมื่อเช้าไม่มี หางหงส์ใบระกะจะมีขนาดเกินกว่าที่ครวจะเป็น เหงาด้านหน้าที่รับบันไดมีขนาดใหญ่มาก สูงกว่าตัวคน เพื่อลวงตาให้วิหารที่เล็กนั้นดูใหญ่ขึ้น ช่างไม่มีฝีมือ แต่ยังคงเข้าไม่ถึงความวิจิตร ลวดลายจึงแข็งประด้าง เหมือนมฑฑปวัดปงสนุก ถึงแม้วิหารของวัดนี้ยังคงเหมือนเดิม แต่ว่ารอบๆตัววิหารนั้นกลับถูกสิ่งแวดล้อมสมัยให้ส่งผลให้เปลี่ยนแปลงไป ไม่สอดคล้องกับงานเดิมที่คงอยู่ หลังจากเดินเล่ารอบวิหารเสร็จแลวก็เลยเดินไปดูรอบๆวัด ก็ยังคงมีต้นไม้ปกคลุมอยู่มากพอสมควร ที่วัดเลี้ยงไก่งวงไว้หลายตัว แต่ละตัวใหญ่มาก... ขณะที่กำลังเดินเล่นอยู่หลังวัดก็มีพระรูปหนึ่งมาเล่าให้ฟังว่าม นอกจากวิหาร เจดีย์แล้วยังมีศาลเจ้าแม่อยู่ ซึ่งคอยปกป้องอาณาบริเวณวัดด้านหลัง พอเดินไปดูเป็นเหมือนถ้ำเล็กๆ ที่สร้างไว้อยู่ด้านหลังเจดีย์
กลับมาที่รถแล้วที่ที่เราจะไปต่อวันนี้คือ วัดอินทราวาส หรือวัดต้นเก๋วน ซึ่งวัดนี้เป็นแหล่งรวมสภาพแวดล้อมที่เรียกได้ว่าเกือบจะสมบูรณ์ที่สุก แต่ภายหลังเกิดร้านขายของขึ้น ใช้วัสดุใหม่ๆที่ไม่สอดคล้องกับของเดิมทำให้เกิดความขัดแย้งเล็กน้อย รั้วของวัดนี้จะไม่ได้เป็นรั้วสีขาวฉาบปูน แต่จะเป็นรั้วอิฐ ด้านหน้าเป็นพื้นที่สาธารณะ ความงามของวัดนั้นเกิดขึ้นตามกาลเวลาจากวามเป็นสัจจะวัสดุ วัสดุที่เป็นธรรมชาติ ก็สามารถกลมกลืนกับธรรมชาติได้ มอสที่เกาะบนหลังคา ผนัง ทำให้อาคารดูอ่อนนุ่มขึ้น กุฏิจะถูกแยกออกจะเขตพุทธาวาส หลังคาสูง เน้นระนาบนอน มีการนำสายตาก่อนที่จะเข้าสู่ตัววัดซึ่งเราจะไม่สามารถเห็นภายในวัดได้ทั้งหมดก่อนที่จะเข้าไปถึงภายในวัด เมื่อเข้าไปจะเจอลานทรายขนาดใหญ่ กว้างขวาง อลังการ หลังคาบางส่วนถูกปรับเปลี่ยนไปใช้เป็นกระเบื้องเคลือบไม่ใช่กระเบื้องพื้นเมือง ช่างโบราณนัน้มีประสบการณ์และความละเอียดอ่อน อาจารย์เล่าว่าในสมัยก่อนมีต้นลำไยให้ความรู้สึกร่มรื่นอยู่ภายในวัด แต่ภายหลังมีอิทธิพลของสวนเซนเข้ามาคือต้องการความราบโล่งและวิว ถ้าคงลักษณะเดิมไว้เป็นต้นไม้ที่เกิดจากสำนึกกับเจ้าอาวาส ภูมิปัญญาเดิมและสำนึกของคนโบราณนั้นสามารถจัดเติมตกแต่งให้สวยงามเหมาะกับความเป็นอยู่แล้วการใช้สอยของพวกเขาแล้ว ต้อนไม้แต่ละต้นที่เลือกปลูกถูกคัดสรรมาอย่างดี เรื่องโครงสร้างของวัด โครงสร้างของวัดนี้มีโครงสร้างสำคัญต่อเนื่องเหมือนวัดลำปางหลวงแต่มีความอ่อนช้อยกว่า จังหวะช่วงเสาและ Space มีความไหลลื่นต่อเนื่อง สัมพันธ์กันกับการใช้สอย คน และที่ว่าโดยรอบ ในวิหารตรงบริเวณพระพุทธรูปมีฝ้าและดาวเพดาน พระประทานมีองค์เล็กไม่กินพื้นที่ทั้งหมดของวิหาร และแท่นบูชานั้นก็ไม่เหมือนกับภาคกลาง โดยเสาที่ใช้นั้นเป็นเสาคู่แต่ะถูกฉาบปูนปิดไว้ ทำให้เกิดระนาบนำสายตาสู่พระประทาน เกิดระนาบการนำสายตาที่สมบูรณ์ เปลี่ยนอารมณ์ตลอด หากมองไปด้านหน้าจะรู้สึกว่าเป็นส่วนเดียวกัน แต่เมื่อเดินออกจากวิหารจะรู้สึกว่าหลังคาเป็นตัวแบ่ง Space ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นคนละส่วนกัน เนื่องจากการซ้อนชั้นของหลังคา ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมองกับสายตาจะปะทะกับหลังคาชั้นที่ต่ำกว่า ทำให้รู้สึกว่าเกิดการแยก ระเบียงคดนั้นก็มีโครงสร้างที่สวยงาม การจบมุมการเข้าไม้ เรียบร้อยมาก หลังจากที่พยายามถ่ายรูปวิหารด้านหน้าได้ก็ รีบขึ้นรถเพื่อไปยังโรงแรมราชมังคลา
รถถูกจอดไว้ที่วักพระสิงห์ และเราก็เดินไปที่ โรงแรมราชมังคลา ซึ่งโรงแรมนี้มีการศึกษา ระเบียบของที่ต่างๆนำมาใช้ประยุกต์ โดยสถานที่ที่ได้ศึกษานั้นเช่น วัดลำปางหลวง วัดตนเก๋วน วักไหล่หิน วัดโปงยางคก เนปาล อังกฤษ การที่นำเอาทุกอย่างนั้นมาอยู่ร่วมกันได้คือนำเอาส่วนที่คล้ายกันใกล้เคียงกันมาใช้ด้วยกันได้โดยปรับให้เข้ากับส่วนอื่นๆ ส่วนที่นำมาศึกษาและนำมาใช้จากอาคารตัวอย่างเหล่านั้นคือ
1.วัสดุ
2.ระเบียบการก่ออิฐ
3.ระเบียบโครงสร้าง
4.ระเบียบการเจ้าช่อง
ลานทราย และไม้พื้นถิ่นถูกนำมาใช้ การเจาะช่องที่ไม่เกินกว่าอารมณ์เดิม ความเรียบง่ายของวัสดุ ด้านหน้าบริเวณส่วนที่เป็น ห้องอาหาร พิพิธฑภัณฑ์และร้านขายของที่ระลึกนั้น เป็นการวมลักณะของอาคารทั้งจีน อังกฤษ และไทยเข้าไว้ด้วยกัน มีคอร์ทตรงกลางทำให้รูสึกโล่งพื้นบริเวณนั้นถูปูด้วยวัสดุที่เป็นธรรมชาติทำให้ดูไม่แข็ง ภายในโรงแรมมีการจัดส่วนห้องพักเป็นแบบอาคารที่ไม่สูง ซึ่งห้องพักเรียงตัวล้อมกันก่อให้เกิดพื้นที่ว่าตรงกลาง และเบรคความยาวด้วยการสร้าง โถงต่างๆขั้นกลาง และเกิดคอร์ทใหม่ ซึ่งวัสดุที่นำมาตกแต่งทุกชนิดถูกคัดสรรมาอย่างดี ผ่านกระบวนการคิด สุดปลายทางเดินไปด้านขวามือจะมีสระว่ายน้ำและอาคารพัก สองอาคาร เมื่อดูรอบโครงการแล้วก็ได้ขึ้นรถ เพื่อจะไปกินข้าวที่ไนท์บาร์ซ่า แล้วร้านที่ไปกินนี่เรียกได้ว่าสุดยอดดด สุดยอดดดด ยอดแย่ ลวงหลอกผู้บริโภคสุดๆ ทำเอากินกันไม่อร่อยเลยทีเดียว ข้าหน้าเป็ดที่มีเป็นอยู่ไม่เกิน ห้าชิ้นบางๆเหี่ยวแห้ง จานละ 60 บาท คือถ้าของมันมคุณภาพจริงจะไม่ว่าอะไรเลย พอเห็นแบบนั้น ก็เลบอกว่าจะยกเลิกแต่พอเดินไปบอกปุ๊บ อาหารที่ยังไม่ได้ทำเขาก็รีบทำทันที จึงปิดท้ายวันด้วยอารมณ์ที่ไม่ดีนัก พอเดินเสร็จก็ขึ้นรถกลับที่พัก นอนพรุ่งนี้เช้าลุยต่อ
เช้านี้อยู่ที่เชียงใหม่ ตื่นเช้ามา ก็ขึ้นรถ วันนี้มีเพื่อนไม่สบาย 2 คน อ.น้ำ เลยบอกว่าจะพาไปหาหมอที่ มช. คนที่ไม่ได้เป็นอะไรเลยแยกย้ายกันไปกินข้าวที่ กากต้นพยอมหน้ามหาวิทยาลัย ไปกินข้าวแกงร้านลุงไท ข้างโรงแรมพิงค์พยอมอร่อยมาก หลังจากกินข้าวเสร็จ เพื่อนๆก็กลับมาจากโรงพยาบาล แล้วกเดินทางต่อไปยัง วัดพันเตา เชียงใหม่ ซึ่งวัดนี้เป็นวัดไม้ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง โดยวิหารแห่งนี้เป็นวิหารไม้เทคโนโลยีที่ใช้เป็นเทคโนโลยีของช่างชั้นครู ซึ่งวิหารนี้แต่เดิมเป็นหอคำของเจ้าเมือง ใต้ถุนสูง ไม่มีมุกแต่มีมณฑปยื่นออกมารับด้านหน้า และที่สำคัญคือไม่มการขยายแปลน เกิดจากระเบียบเดียวกันกับวัดโปงยางคก ทำไม้จากด้านนอก และปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ประกอบได้ โดยใช้ประสบการณ์ ซึ่งลักษณะเป็นของล้านนา ประตูมีขนาดแคบ กระชั้นกับวิหาร หลังวิหารมีเจดีย์ ภายในวัดนี้ ยังมีเพิงที่เป็นเครื่องผูก สำหรับใช้เป็นร่มเงาชั่วคราว อยู่ด้านหลัง
จากนั้นเราก็เดินต่อไปยังโรงแรมใกล้ๆ ชื่อ U Chaing Mai Hotel ซึ่งโรงแรมนี้ได้ประยุกต์การใช้งานจากบ้านโบราณเดิมมาสร้างเอกลักษณ์ของโรงแรม วัสดุใหม่เก่าที่นำมาผสมผสานอย่างลงตัว ไม้เดิมทำสีใหม่ คอนกรีต กระจก เหล็ก การจัดทางเข้าด้านหน้า ดูเป็นงานสมัยใหม่ที่ยังคงมีความเป็นไทยแผงอยู่ การเลือกพืชพรรณที่นำมาใช้ บ้านหลังเดิมเป็นบ้านสีฟ้าเจ้าของเป็นท่านขุน ที่รู้ถึงประวัติศาสตร์และพยายามทำให้ไม่สูญไป พยายามรักษารูปแบบเดิมด้วยการเชื่อมต่ออาคารใหม่ให้โอบล้อมอาคารเดิมไว้โดยใช้หลังคาเดียวกัน ทำผนังให้โปร่งขึ้น โดยมี Form ใหม่ Scale ลักษณะบางอย่างสอดคล้องกับอาคารไม้ โดยมีความเข้าใจในของเดิม เน้นทางเข้าเจาะช่อง พอออกมาจากโรงแรมก็เดินกลับไปขึ้นรถที่วัดพันเตา เพื่อออกเดินทางไปยังเป้าหมายต่อไป
แล้วล้อก็หยุดหมุนที่วัดทุ่งอ้อ โดยวัดนี้มีวิหารขนาดเล็กกระทัดรัด แต่เมื่อเข้าไปแล้วรู้สึดได้ว่าใหญ่กว่าที่เห็นจากด้านนอกไม่แออัด อาจเป็นเพราะช่องแสงที่มี หลังคาที่โปร่ง และการบีบ ขยายแปลน อ.น้ำเล่าว่า วัดแห่งนี้เป็นวัดแบบเชียงใหม่โดยใช้แม่แบบเดิม ซึ่งลักษณะจะแตกต่างกับวัดลำปางหลวงตรงที่ บริเวณรอบๆวิหารจะไม่โปร่ง มีการก่ออิฐ และขยายแปลนซึ่งวัดเมื่อเช้าไม่มี หางหงส์ใบระกะจะมีขนาดเกินกว่าที่ครวจะเป็น เหงาด้านหน้าที่รับบันไดมีขนาดใหญ่มาก สูงกว่าตัวคน เพื่อลวงตาให้วิหารที่เล็กนั้นดูใหญ่ขึ้น ช่างไม่มีฝีมือ แต่ยังคงเข้าไม่ถึงความวิจิตร ลวดลายจึงแข็งประด้าง เหมือนมฑฑปวัดปงสนุก ถึงแม้วิหารของวัดนี้ยังคงเหมือนเดิม แต่ว่ารอบๆตัววิหารนั้นกลับถูกสิ่งแวดล้อมสมัยให้ส่งผลให้เปลี่ยนแปลงไป ไม่สอดคล้องกับงานเดิมที่คงอยู่ หลังจากเดินเล่ารอบวิหารเสร็จแลวก็เลยเดินไปดูรอบๆวัด ก็ยังคงมีต้นไม้ปกคลุมอยู่มากพอสมควร ที่วัดเลี้ยงไก่งวงไว้หลายตัว แต่ละตัวใหญ่มาก... ขณะที่กำลังเดินเล่นอยู่หลังวัดก็มีพระรูปหนึ่งมาเล่าให้ฟังว่าม นอกจากวิหาร เจดีย์แล้วยังมีศาลเจ้าแม่อยู่ ซึ่งคอยปกป้องอาณาบริเวณวัดด้านหลัง พอเดินไปดูเป็นเหมือนถ้ำเล็กๆ ที่สร้างไว้อยู่ด้านหลังเจดีย์
กลับมาที่รถแล้วที่ที่เราจะไปต่อวันนี้คือ วัดอินทราวาส หรือวัดต้นเก๋วน ซึ่งวัดนี้เป็นแหล่งรวมสภาพแวดล้อมที่เรียกได้ว่าเกือบจะสมบูรณ์ที่สุก แต่ภายหลังเกิดร้านขายของขึ้น ใช้วัสดุใหม่ๆที่ไม่สอดคล้องกับของเดิมทำให้เกิดความขัดแย้งเล็กน้อย รั้วของวัดนี้จะไม่ได้เป็นรั้วสีขาวฉาบปูน แต่จะเป็นรั้วอิฐ ด้านหน้าเป็นพื้นที่สาธารณะ ความงามของวัดนั้นเกิดขึ้นตามกาลเวลาจากวามเป็นสัจจะวัสดุ วัสดุที่เป็นธรรมชาติ ก็สามารถกลมกลืนกับธรรมชาติได้ มอสที่เกาะบนหลังคา ผนัง ทำให้อาคารดูอ่อนนุ่มขึ้น กุฏิจะถูกแยกออกจะเขตพุทธาวาส หลังคาสูง เน้นระนาบนอน มีการนำสายตาก่อนที่จะเข้าสู่ตัววัดซึ่งเราจะไม่สามารถเห็นภายในวัดได้ทั้งหมดก่อนที่จะเข้าไปถึงภายในวัด เมื่อเข้าไปจะเจอลานทรายขนาดใหญ่ กว้างขวาง อลังการ หลังคาบางส่วนถูกปรับเปลี่ยนไปใช้เป็นกระเบื้องเคลือบไม่ใช่กระเบื้องพื้นเมือง ช่างโบราณนัน้มีประสบการณ์และความละเอียดอ่อน อาจารย์เล่าว่าในสมัยก่อนมีต้นลำไยให้ความรู้สึกร่มรื่นอยู่ภายในวัด แต่ภายหลังมีอิทธิพลของสวนเซนเข้ามาคือต้องการความราบโล่งและวิว ถ้าคงลักษณะเดิมไว้เป็นต้นไม้ที่เกิดจากสำนึกกับเจ้าอาวาส ภูมิปัญญาเดิมและสำนึกของคนโบราณนั้นสามารถจัดเติมตกแต่งให้สวยงามเหมาะกับความเป็นอยู่แล้วการใช้สอยของพวกเขาแล้ว ต้อนไม้แต่ละต้นที่เลือกปลูกถูกคัดสรรมาอย่างดี เรื่องโครงสร้างของวัด โครงสร้างของวัดนี้มีโครงสร้างสำคัญต่อเนื่องเหมือนวัดลำปางหลวงแต่มีความอ่อนช้อยกว่า จังหวะช่วงเสาและ Space มีความไหลลื่นต่อเนื่อง สัมพันธ์กันกับการใช้สอย คน และที่ว่าโดยรอบ ในวิหารตรงบริเวณพระพุทธรูปมีฝ้าและดาวเพดาน พระประทานมีองค์เล็กไม่กินพื้นที่ทั้งหมดของวิหาร และแท่นบูชานั้นก็ไม่เหมือนกับภาคกลาง โดยเสาที่ใช้นั้นเป็นเสาคู่แต่ะถูกฉาบปูนปิดไว้ ทำให้เกิดระนาบนำสายตาสู่พระประทาน เกิดระนาบการนำสายตาที่สมบูรณ์ เปลี่ยนอารมณ์ตลอด หากมองไปด้านหน้าจะรู้สึกว่าเป็นส่วนเดียวกัน แต่เมื่อเดินออกจากวิหารจะรู้สึกว่าหลังคาเป็นตัวแบ่ง Space ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นคนละส่วนกัน เนื่องจากการซ้อนชั้นของหลังคา ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมองกับสายตาจะปะทะกับหลังคาชั้นที่ต่ำกว่า ทำให้รู้สึกว่าเกิดการแยก ระเบียงคดนั้นก็มีโครงสร้างที่สวยงาม การจบมุมการเข้าไม้ เรียบร้อยมาก หลังจากที่พยายามถ่ายรูปวิหารด้านหน้าได้ก็ รีบขึ้นรถเพื่อไปยังโรงแรมราชมังคลา
รถถูกจอดไว้ที่วักพระสิงห์ และเราก็เดินไปที่ โรงแรมราชมังคลา ซึ่งโรงแรมนี้มีการศึกษา ระเบียบของที่ต่างๆนำมาใช้ประยุกต์ โดยสถานที่ที่ได้ศึกษานั้นเช่น วัดลำปางหลวง วัดตนเก๋วน วักไหล่หิน วัดโปงยางคก เนปาล อังกฤษ การที่นำเอาทุกอย่างนั้นมาอยู่ร่วมกันได้คือนำเอาส่วนที่คล้ายกันใกล้เคียงกันมาใช้ด้วยกันได้โดยปรับให้เข้ากับส่วนอื่นๆ ส่วนที่นำมาศึกษาและนำมาใช้จากอาคารตัวอย่างเหล่านั้นคือ
1.วัสดุ
2.ระเบียบการก่ออิฐ
3.ระเบียบโครงสร้าง
4.ระเบียบการเจ้าช่อง
ลานทราย และไม้พื้นถิ่นถูกนำมาใช้ การเจาะช่องที่ไม่เกินกว่าอารมณ์เดิม ความเรียบง่ายของวัสดุ ด้านหน้าบริเวณส่วนที่เป็น ห้องอาหาร พิพิธฑภัณฑ์และร้านขายของที่ระลึกนั้น เป็นการวมลักณะของอาคารทั้งจีน อังกฤษ และไทยเข้าไว้ด้วยกัน มีคอร์ทตรงกลางทำให้รูสึกโล่งพื้นบริเวณนั้นถูปูด้วยวัสดุที่เป็นธรรมชาติทำให้ดูไม่แข็ง ภายในโรงแรมมีการจัดส่วนห้องพักเป็นแบบอาคารที่ไม่สูง ซึ่งห้องพักเรียงตัวล้อมกันก่อให้เกิดพื้นที่ว่าตรงกลาง และเบรคความยาวด้วยการสร้าง โถงต่างๆขั้นกลาง และเกิดคอร์ทใหม่ ซึ่งวัสดุที่นำมาตกแต่งทุกชนิดถูกคัดสรรมาอย่างดี ผ่านกระบวนการคิด สุดปลายทางเดินไปด้านขวามือจะมีสระว่ายน้ำและอาคารพัก สองอาคาร เมื่อดูรอบโครงการแล้วก็ได้ขึ้นรถ เพื่อจะไปกินข้าวที่ไนท์บาร์ซ่า แล้วร้านที่ไปกินนี่เรียกได้ว่าสุดยอดดด สุดยอดดดด ยอดแย่ ลวงหลอกผู้บริโภคสุดๆ ทำเอากินกันไม่อร่อยเลยทีเดียว ข้าหน้าเป็ดที่มีเป็นอยู่ไม่เกิน ห้าชิ้นบางๆเหี่ยวแห้ง จานละ 60 บาท คือถ้าของมันมคุณภาพจริงจะไม่ว่าอะไรเลย พอเห็นแบบนั้น ก็เลบอกว่าจะยกเลิกแต่พอเดินไปบอกปุ๊บ อาหารที่ยังไม่ได้ทำเขาก็รีบทำทันที จึงปิดท้ายวันด้วยอารมณ์ที่ไม่ดีนัก พอเดินเสร็จก็ขึ้นรถกลับที่พัก นอนพรุ่งนี้เช้าลุยต่อ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)