วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552
สถาปัตยกรรมยุควิคตอเรียน ปี (1837-1901)
สถาปัตยกรรมยุควิคตอเรียน ปี (1837-1901)
คำนิยามของสถาปัตยกรรมแบบวิคตอเรียนนี้ อาจกล่าวได้ว่า เป็นรูปแบบหนึ่งของงานสถาปัตยกรรม มีอำนาจอยู่ในช่วง ราชินีวิคตอเรีย ครองราชย์ในประเทศอังกฤษ ทำให้เกิดเป็นยุควิตอเรียนขึ้น
โดนในยุคสมัยนี้ได้ฟื้นฟูสถาปัตยกรรมของยุคคลาสิกและกรีก ขึ้นมาอีก แต่ก็ยังคงมีปัญหาเรื่องของการพัฒนารูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันขึ้น การฟื้นฟูยุคกิธิคนั้นมีอำนาจและบทบาทมากในช่วงปี ค.ศ.1855-1885 แต่ยังคงมีการฟื้นฟูและการนำเอาสถาปัตยกรรมยุคต่างๆในอดีตกลับมาใช้อีก โดยมีปัจจัยหลักของรูปแบบงาน จพแสดงออกมาในเรื่องของความรักและความอบอุ่นของบ้าน
อังกฤษเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรมในงานจัดแสดงงานครั้งยิ่งใหญ่ในของทั่วโลกในปี ค.ศ.1851 โดยอาคารที่ก่อสร้างขึ้นมาคือ ครัสตัลพาเลซ ออกแบบโดย Sir Joseph Paxton มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการจัดแสดงงานและแสดงศักยภาพทางด้านเทคโนโลยี การออกแบบและการก่อสร้างของประเทศอังกฤษอีกด้วย รูปแบบอาคารเป็นอาคารกระจกโครงสร้างเหล็ก และใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างแบบ Prefabrication ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของเทคโนโลยีในอนาคต
ลักษณะงานออกแบบของยุควิคตอเรียนที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ ลักษณะการฟื้นฟูการออกแบบแบบกรีก ซึ่งจเห็นได้ในอาคารสาธรณะขนาดใหญ่ ซึ่งในยุคสมัยนี้บ้านได้มีการออกแบบที่เปลี่ยนแปลงไป โครงสร้างและการก่อสร้างเน้นไปที่งานในรูปแบบของชิ้นส่วนสำเร็จรูป ในประเทศอังกฤษ มีรากฐานทางด้านประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ รูปทรแรขาคณิต ทฤษฎี และความชอบในการออกแบบ ในยุควิตอเรียนตอนต้นนั้น ลักษณะการออกแบบยังเป็นได้ในรูปแบบที่เรียบง่าย แต่ภายหลังจากการเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในประเทศ สถาปัตยกรรมก็ได้มีความซับซ้อนมากขึ้น
ในบ้านแบบวิกตอเรียนอาจประกอบไปด้วยรายละเอียดจากหลาย ๆ สไตล์ หลาย ๆ ยุค ดังที่กล่าวข้างต้นมาดัดแปลงใช้ร่วมกัน ซึ่งในสมัยนั้นเป็นที่นิยมมาก เรียกกันว่า "Eclecticism" ซึ่งหมายถึง การเลือกใช้ให้ผสมผสานกลมกลืนตามความเหมาะสม บรรยากาศการตกแต่งภายในบ้านแบบวิกตอเรียน จะเน้นเรื่องความรักบ้านและครอบครัวอบอุ่น ค่อนข้างโรแมนติก เริ่มตั้งแต่ประตูทางเข้า จะทำให้เด่นด้วยการใช้กระจกสี "สเตนกลาส" ประดับแต่งด้วยลวดลายต่าง ๆ เช่น รูปแบบโกธิค แบบดอกไม้ หรืออาจใช้กระจกเจียระไนแต่ละชิ้นประดับเป็นลวดลายงดงาม
ห้องรับประทานอาหารภายในบ้านแบบวิกตอเรียน นิยมเล่นลวดลายมาก และประดับด้วยโคมไฟระย้า ผนังห้องนอนตกแต่งด้วยกระดาษติดผนัง มีบอร์เดอร์คาดโดยรอบเป็นลายใบไม้เน้นฝ้าเพดานห้อง ด้านล่างผนังแต่งด้วยกระดาษติดผนังลวดลายต่างจากผนังท่อนบนมักเป็นลายจำพวกดอกไม้ ริบบิ้น รูปวิว บัวเพดาน และผนังห้องที่ใช้กระดาษปิดผนังสีสด เล่นลวดลายต่าง ๆ กัน ตรงกลางฝ้าติดแป้นไม้แกะสลัก สำหรับห้อยไฟระย้า ประตูทางเข้าบ้านดูโอ่โถง ประดับประดาด้วยกระจกสี (leaded-glass) เป็นรูปทรงเรขาคณิต ได้รับอิทธิพลจากศิลปะญี่ปุ่น ซึ่งนิยมกันมากในสมัยวิกตอเรียน
ในตอนต้นยุค สีสันภายในห้องโดยเฉพาะบริเวณห้องโถงต่อจากทางเข้าจะเป็นสีค่อนข้างหม่น เช่น เทา น้ำเงิน น้ำตาลอมเหลือง สีไม้โอ๊ก หรือแดงเข้ม ต่อมาใช้สีสดมากขึ้น เช่น เทอร์ควอยส์ ม่วงแดง ส้มอ่อน เขียวบรอนซ์ เขียวมะกอก เหลือง ฟ้าหม่น และสีทอง
ภายในห้อง นิยมทำเพดานให้สูงประมาณ 3-4 เมตรกว่า ทำให้ดูสูงโปร่งฝ้าเพดานประดับประดาด้วยปูนปั้นแกะสลักเป็นรูปดอกไม้ หรือเป็นภาพวาดแบบเฟรสโก้ บางทีก็แต่งปิดทับด้วยกระดาษและแผ่นดีบุกอัดลาย และติดไฟระย้า
ผนังห้อง จะตกแต่งปิดทับด้วยกระดาษปิดผนังที่มีลวดลายโดดเด่น มีการแบ่งพื้นห้องส่วนสาม เพื่อตกแต่งด้วยไม้แกะสลักหรือวอลล์เปเปอร์ ที่มีสีสันหรือลวดลายที่ต่างจากส่วนอื่น ๆ ของผนัง บางทีก็ใช้แผ่นไม้มีลวดลายกรุผนังด้านล่าง
นอกจากนี้ ยังนิยมติดกระดาษปิดผนังชนิดที่ติดเป็นขอบโดยรอบ(Borders)การใช้สีทาผนังการวาดลวดลายและการใช้วิธีทำสเตนซิล ก็เป็นที่นิยมเหมือนกัน
เสาห้อง จะเป็นเสาสไตล์คลาสสิกที่ถูกตกแต่งจนบอกไม่ได้ว่ามาจากสไตล์ไหนกันแน่ เพราะเป็นการรวมหลายแบบเข้าไว้ด้วยกัน
พื้นห้องสมัยวิกตอเรียน มักจะใช้พรมปูตลอดทั้งห้องทับไปบนพื้นไม้ ซึ่งถ้าไม่ใช้พรม ก็นิยมวาดรูปลงไปบนพื้นหรือไม่ก็ทำลวดลายแบบสเตนซิล ที่น่าสนใจคือมีการคิดค้นแผ่นลิโนเลียม คล้ายกระเบื้องยางในปัจจุบัน มีลวดลายเป็นรูปทรงเรขาคณิต
นอกจากนี้ มีการใช้เสื่อทอจากพืชสำหรับปูที่เฉลียง มีการใช้กระเบื้องเป็นวัสดุปูที่พื้นบริเวณทางเข้าบ้าน ในพื้นห้องครัวและห้อง
ตัวอย่างงานในยุควิคตอเรียนตอนต้น "Gingerbread House" ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1855
Manchester Town Hall เป็นตัวอย่างของการฟื้นฟูสถาปัตยกรรมกอธิคในยุควิคตอเรียน ตั้งอยู่ใน Manchester ประเทศอังกฤษ
ตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมวิคตอเรียนในประเทศไทย
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร องค์ปัจจุบัน
บริเวณด้านข้างของพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร องค์ปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรขึ้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2420 โดยโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์เป็นผู้ออกแบบ[2] โดยพระราชทานเงิน 70 ชั่ง หรือประมาณ 5,600 บาท ทุกปีในฤดูฝน พระองค์จะเสด็จมาประทับที่พระที่นั่งองค์นี้ปีละ 3 ครั้ง
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรเป็นพระที่นั่งเรือนไม้ 2 ชั้น มีสถาปัตยกรรมแบบชาเล่ย์ของสวิตเซอร์แลนด์ โดยทาสีเขียวอ่อนและสีขียวแก่สลับกันทั้งองค์ ประดับประดาไปด้วยลวดลายฉลุไม้แบบยุโรปที่แสนงดงาม มีระเบียงแล่นโดยรอบพระที่นั่ง ภายในมีการตกแต่งแบบยุโรปด้วยเครื่องเรือนฝรั่งเศสสมัยพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ที่เข้าชุดกันทั้งหมด พระที่นั่งองค์นี้ถือได้ว่าเป็นพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานมากที่สุด
เมื่อปี พ.ศ. 2433 แกรนด์ดุ๊กซาร์วิตส์แห่งรัสเซีย (พระยศขณะนั้น) ได้เสด็จเยือนประเทศไทย พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระที่นั่งองค์นี้เป็นที่ประทับของแกรนด์ดุ๊กซาร์วิตส์ และในปี พ.ศ. 2452 ยังใช้เป็นที่ประทับของดยุคโยฮัน อัลเบรตแห่งเยอรมันด้วย[1]
ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ได้มีการบูรณะซ่อมแซมพระที่นั่งต่าง ๆ ในพระราชวังบางปะอิน ขณะดำเนินการทาสีพระที่นั่งนั้นได้เกิดเหตุเพลิงไหม้พระที่นั่งทั้งองค์ ซึ่งเหลือเพียงหอน้ำข้างพระที่นั่งเท่านั้นที่ไม่ถูกเพลิงไหม้ เมื่อปี พ.ศ. 2531 สำนักพระราชวังจึงสร้างพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรขึ้นมาใหม่เลียนแบบพระที่ นั่งองค์เดิม เพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงภาพเขียนและวัตถุโบราณ
จนกระทั่ง เมื่อปี พ.ศ. 2537 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้จัดสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ ขึ้นโดยใช้คอนกรีต แทนไม้ โดยทาสีขาวสลับเขียวตามแบบเดิมทั้งองค์พระที่นั่ง ต่อมาได้มีการรื้อดัดแปลงสร้างใหม่อีกครั้งหนึ่งตามลักษณะที่ปรากฏใน ปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรในคราวเสด็จเยือนประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2539 การดัดแปลงใหม่ครั้งนี้ได้ใช้ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบวิคตอเรียน ตัวอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้นกรุกระจกโดยรอบองค์พระที่นั่ง องค์พระที่นั่งทาสีม่วงชมพูอย่างงดงาม
ปัจจุบัน พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นที่ประทับในการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน ณ พระราชวังบางปะอิน และเป็นสถานที่รับรองพระราชอาคันตุกะ เป็นสถานที่เดียวในพระราชวังบางปะอินที่ไม่เปิดให้เข้าชม
พระตำหนักสวนหงส์
พระตำหนักสวนหงส์
พระตำหนักสวนหงส์ เป็นพระตำหนักภายในพระราชวังดุสิต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ปัจจุบัน ใช้เป็นสถานที่จัดแสดงภาพงานพระราชพิธีโบราณต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีสมโภชเดือนขึ้นพระอู่ พระราชพิธีตรียัมปวาย รวมทั้ง จัดแสดงพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
พระตำหนักสวนหงส์ เป็นพระตำหนักไม้ 2 ชั้น บริเวณเชิงชาย ระเบียง และคอสองตกแต่งด้วยไม้แกะสลักลวดลายขนมปังขิง ตัวอาคารทาสีเขียวและขาว บริเวณด้านหน้าพระตำหนักตั้งรูปปฏิมากรรมรูปหงส์ประดับไว้ด้วย พระตำหนักออกแบบและก่อสร้างโดยกลุ่มนายช่างประจำราชสำนัก ซึ่งเป็นชาวตะวันตก ได้แก่ ชาวอิตาเลียน เยอมัน และอังกฤษ สถาปัตยกรรมของพระตำหนักสวนหงส์นั้นเมื่อพิจารณาตามส่วนต่าง ๆ แล้วน่าจะมีสถาปัตยกรรมแบบวิคตอเรียน กอทิค ซึ่งเป็นศิลปะร่วมสมัยกับพระที่นั่งวิมานเมฆ แต่เมื่อพิจารณาแบบองค์รวมแล้วจัดเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Picturesque มากกว่า และนับเป็นสถาปัตยกรรมแนวสัญลักษณ์นิยมที่สามารถผสมผสานวัฒนธรรมไทย จีน และแขกได้อย่างลงตัว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ดีจังค่ะ เราชอบสถาปัตยกรรมยุค วิคตอเรียมาก แต่ไม่ค่อยมีความรู้หรอกค่ะ ขอบคุณ ที่ทำ blog นี้ขึ้น
ตอบลบบรรยายได้เห็นภาพ ขอบคุณค่ะ
ตอบลบ