วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

พระพรหมพิจิตร



















ประวัติพระพรหมพิจิตร
พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) เกิดวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2433 ภายหลังเปลี่ยนชื่อและนาสกุล ตามบรรดาศักด์ที่เลิกใช้เป็นนายพรหม พรหมพิจิตร และได้รับตำแหน่งเป็นราชบัณฑิต ในวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาจิตกรรมสำนักศิลปกรรม สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
การศึกษา
ปี พ.ศ.2433 ได้ศึกษาหนังสือไทยที่โรงเรียนมหาพฤฒาราม และเข้าเป็นช่างเขียนในกรมโยธา กระทรวงโยธาธิการ พ.ศ.2477
การรับราชการ
พ.ศ.2451 ได้บรรจุเป็นช่างเขียนกรมโยธาธิการ
พ.ศ.2455 กรมโยธาธิการเปลี่ยนนามมาเป็นกรมศิลปากร ย้ายมารับราชการในกรมศิลปากร
พ.ศ.2468 ย้ายไปรับราชการในกรมรองาน กระทรวงวัเป็นเวลา 1 เดือน
พ.ศ.2469 รับหน้าที่อาจารย์แผนกศิลปากรสถานราชบัณฑิตยสภา
พ.ศ.2476 ราชบัณฑิตยสภายุบลง ย้ายมารับราชการในกรมศิลปากร
พ.ศ.2493 เกษียนอายุราชการ ออกรับพระราชทานบำนาญ
ตำแหน่งราชการหน้าที่พิเศษ
-ช่างเขียนชั้น 4,3,2 –ครูเอกชั้น 1 ประณีตศิลปกรรม- ช่างเอกชั้น 1 สถาปัตยกรรม- อาจารย์เอกสถาปัตยกรรม- สถาปนิกกองสถาปัตยกรรม- หัวหน้ากองประณีตศิลปกรรม- หัวหน้ากองหัตถศิลป- ที่ปรึกษาฝ่ายศิลป ประจำกรมศิลปกร-กรรมการสำนักวัฒนธรรมศิลปกรรม- อาจารย์เอกคณะศิลปไทย ครูวาดเขียนเอกโรงเรียนเพาะช่าง- อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย- ผู้ก่อตั้งและดำรตำแหน่งคณะบดีคนแรกของคณะสถาปัตยกรรมไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อพ.ศ. 2498
ยศ บรรดาศักดิ์ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2456 รองเสวกตรี ขุนบรรจงเลขา
พ.ศ. 2462 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
พ.ศ. 2463 เป็นหลวงสมิทธิเลขา
พ.ศ. 2466 รองเสวกโท หลวงสมิทธิเลขา
พ.ศ. 2467 ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
พ.ศ. 2471 รองอำมาตย์เอก พระพรหมพิจิตร
พ.ศ. 2480 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย และเหรียญจักรพรรดิมาลา
พ.ศ. 2482 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2483 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
พ.ศ. 2485 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์ช้างเผือก

ชีวิตครอบครัว
สมรสกับพวงเพ็ญ เกิดบุตรด้วยกัน 2 คน คือ
1. พันเอก สมฤทธิ์ พรหมพิจิตร (ถึงแก่กรรม)
2.พันเอก กัมพล พรหมพิจิตร
อาจารย์ พระพรหมพิจิตร ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 สิริชนมายุได้ 75 ปี และได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2508

ผลงานอนุสรณ์สำคัญ
อาจารย์พระพรหมพิจิตร เป็นผูมีความสามารถรอบรู้เรื่องช่างศิลป์ โดยเฉพาะเชี่ยวชาญเรื่อง สถาปัตยกรรมไทย ทั้งปฏิบัติเองหรือให้คำปรึกษา ซึ่งมีตัวอย่างงานออกแบบดังนี้
1.เขียนตำรา “พุทธศิลปสถาปัตยกรรม” ภาคต้น
2.ออกแบบก่อสร้าง ศาลาโรงธรรม วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
3.ออกแบบอาคารหลักก่อสร้างและวางผัง วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน กรุงเทพมหานคร
4.ออกแบบก่อสร้าง ศาลาการเปรียญ เมรุ หอระฆัง ซุ้มประตู วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร
5.ออกแบบก่อสร้างศาลาการเปรียญ และรั้วด้านหน้า วัดปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร
6.ออกแบบก่อสร้าง ศาลาการเปรียญ และเมรุวัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร
7.ออกแบบก่อสร้าง ศาลาการเปรียญวัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร
8.ออกแบบก่อสร้างหอระฆัง วัดยานนาวา กรุงเทพฯ
9.ออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถ วัดมณฑป จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
10.ออกแบบก่อสร้างศาลาการเปรียญ และรั้วกั้นเขตสังฆวาส วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
11.ออกแบบก่อสร้างพระเจดีย์ยุทธหัตถี จังหวัดสุพรรณบุรี
12.ออกแบบก่อสร้างหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
13.ออกแบบพระเมรุมาศถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่ 8
14.ออกแบบพระเมรุมาศถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ณ ท้องสนามหลวง
15.ออกแบบก่อสร้างอาคารประกอบพิธีฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ณ ท้องสนามหลวง
16.ออกแบบก่อสร้างอาคารศาลาไทยจัดแสดงงาน ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
17.ออกแบบก่อสร้างซุ้มประตูสวัสดิโสภา ทางเข้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
18.ออกแบบก่อสร้างประตูดุสิตศาสดา ในพระบรมมหาราชวัง
19.ออกแบบห้องเก็บพระบรมอัฐิพระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งการตกแต่งภายใน ที่หอพระราควัดพระศรีรัตนศาสดาราม
20.ออกแบบก่อสร้างอนุเสาวรีย์พระยารัษานุประดิษฐ์ฯ จังหวัดตรัง
21.ออกแบบดวงตราพระคเณศ ประจำกรมศิลปากร
22.ออกแบบตราเครื่องหมายประจำกระทรวง ทบวง กรม และจังหวัดต่างๆ หลายจังหวัด
23.ออกแบบปรับปรุงตราประจำตัวของเจ้าพระยาสมเด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล)
24.ออกแบบม่านเทพนมหน้าเวทีโรงละครแห่งชาติ
25.ออกแบบพระโกศทองคำบรรจุพระบรมอัฐิ รัชกาลที่ 8 ฯลฯ
นอกจากนี้ในวัยหนุ่ม อาจารย์พระพรหมพิจิตร ยังเป็นลูกมือช่วยคัดลอกลงเส้นในงานออกแบบเขียนลาน รวมทั้งทำหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างต่างๆ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ สำเร็จด้วยดีทุกครั้ง และเป็นศิษย์ที่สมเด็จครู ทรงโปรดปรานพระทัย เรียกหาใช้สอยใกล้ชิดผู้หนึ่ง

ศาสตราจารย์พระพรหมพิจิตรกับงานคอนกรีตในสถาปัตยกรรมไทย
ในสถาปัตยกรรมไทยนั้นเดิมทีมีโครงสร้างเป็นไม้ ต่อมาอาคารประเภทพระอุโบสถ พระวิหาร การเปรียญกุฏิ ได้เริ่มมีตัวอาคารกลายเป็นอิฐ ปูน แต่องค์ประกอบทุกอย่างของหลังคาไม่ว่าจะเป็นรวย ลำยอง ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ลายหน้าบัน ลายอุดปีกนก ลายอุดเต้า กระจังฐานพระ แผงแรคอสอง กรอบหน้านาง ลายรวงผึ้ง ลายสาหร่าย หรือแม้แต่นกนาคก็ยังคงทำด้วยไม้มิได้เปลี่ยนแปลง รวมไปถึงหลังคาอาคารต่างๆอีกมากมายด้วย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยอด หรือพระที่นั่ง ทั้งหมดล้วนยังคงเป็นไม้ อันเป็นเหตุทำให้เมื่อการเวลาผ่านนานไปทำให้โครงสร้างไม้เหล่านั้นถูกกาลเวลาทำให้หายสาบสูญไปอย่างน่าเสียดาย
เมื่อต้องการความคงทนที่ง่ายต่อการดูแลรักษา จึงเกิดวิธีใช้ไม้เป็นโครงสร้างแล้วก่ออิฐฉาบปูน องค์ประกอบสิ่งตกแต่งก็จะเป็นปูน ด้วยวิธีการนั้นการหล่อแล้วนำไปตกแต่งจึงเกิดขึ้นและเนื่องจากการที่แต่เดิมนั้นลวดลายต่างๆได้เกิดขึ้นจากการทำด้วยไม้ทำให้ปูนที่ถูกใช้นำมาตกแต่งมีทรวดทรงเป็นลักษณะเหมือนทำด้วยไม้ทุกอย่าง ทั้งนี้เนื่องมาจากช่างไทยในสมัยก่อนนั้นยังไม่ทราบถึงคุณสมบัติของปูนอย่างแท้จริง
ต่อมาเมื่อศาสตราจารย์พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) ท่านได้เริ่มเข้าใจถึงคุณสมบัติของปูนหรือคอนกรีตแล้ว ดังจะเห็นได้จากสิ่งตกแต่งของเครื่องปิดเครื่องมุง ทั้งที่เป็นรวยระกา หางหงส์ ที่มีสัดส่วนที่สั้นลง ลวดลายต่างๆที่ปลายจะสะบัดไม่มากเท่าไม้ ซึ่งงานสถาปัตยกรรมของท่านที่แสดงให้เห็นถึงเรื่องนี้ก็คือพระอุโบสถวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน พระอุโบสถวัดมณฑป อยุธยา
เมื่อศาสตราจารย์พระพรหมพิจิตรได้ผลิตผลงานสถาปัตยกรรมไทยชิ้นต่อๆมา ท่านจึงได้เข้าใจถึงคุณสมบัติของคอนกรีตเป็นอย่างดี ผลงานของท่านจึงแสดงให้เห็นถึงอัจฉริยะในการสร้างสรรค์งานคอนกรีตในสถาปัตยกรรมไทย ท่านได้ปรับปรุง รูปทรง สัดส่วน ลักษณะ และจังหวะของงานสถาปัตยกรรมไทยให้เหมาะสมกับงานคอนกรีตงานชิ้นเอกของท่านที่แสดงออกถึงสิ่งเหล่านี้คือ ประตูพระบรมหาราชวังด้านหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่มีชื่อว่า ประตูสวัสดิโสภา ที่ท่านเป็นผู้ออกแบบ ท่านคงได้ศึกษารูปทรงของของประตูยอดปรางค์เก่าผสมกับความเข้าใจในสมบัติของคอนกรีต ท่านจึงได้คัดรูปแบบต่างๆทั้งตัวประตู ยอด รวมทั้งองค์ประกอบ ที่สามารถสร้างโดยใช้คอนกรีตแต่ยังคงรูปร่างไม่ผิดไปจากลักษณะเดิมเลย
นับได้ว่าศาสตราจารย์พระพรหมพิจิตรเป็นช่างหรือ สถาปนิกท่านแรกที่ริเริ่ม และบุกเบิกในการนำคอนกรีตมาใช้ในงานสถาปัตยกรรมไทยให้ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นเลิศในประเทศไทย

2 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ
  2. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ